ดูแบบคำตอบเดียว
  #89  
เก่า 17-05-2015, 14:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,504 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

"หลักการปฏิบัติทั้งหมด ถ้าไม่มีอิทธิบาทซึ่งเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ ก็ยากที่จะทำแล้วเกิดผล อิทธิบาท ๔ ต้องถือว่าเป็นหญ้าปากคอก อยู่ใกล้หูใกล้ตามากจนกระทั่งลืม

ฉันทะ
ต้องมีความยินดี มีความพอใจเราถึงมาปฏิบัติ วิริยะ มีความพากเพียรบากบั่น การปฏิบัติจึงจะสำเร็จได้ จิตตะ คือกำลังใจจดจ่อจับมั่นอยู่ไม่แปรผันเป็นอื่น วิมังสาคือไตร่ตรองทบทวนอยู่เสมอ ๆ ว่าเราทำอะไร ? เพื่ออะไร ? ทำไปถึงไหน ? เหลืออีกเท่าไร ? เป็นต้น

นักเทศน์เขาแต่งเป็นกลอนเอาไว้ว่า “พอใจพอใจใฝ่ความรู้ เพียรอยู่เพียรอยู่ไม่ท้อถอย จดจ่อจดจ่อเฝ้ารอคอย ทวนบ่อยทวนบ่อยไม่หลงลืม” ก็คือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสานั่นแหละ ส่วนใหญ่พวกเรามีฉันทะแบบไฟไหม้ฟาง คือมาวูบเดียว ถ้าไก่ไม่สุกก็อดกิน ในเมื่อมีฉันทะแค่ไฟไหม้ฟาง วิริยะคือความเพียรก็พลอยน้อย ความแน่วแน่ของกำลังใจไม่มี ใครว่าอะไรดีที่ไหนก็ไปกับเขาหมด แล้วก็ลืมเป้าหมายของตัวเองว่าจะทำอะไร จะโดนกิเลสหลอกลักษณะอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่โดนเท่าไรก็ไม่รู้จักเข็ดเหมือนกัน"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-05-2015 เมื่อ 16:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 183 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา