ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 15-12-2010, 16:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,981 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วสีภาพ คือ ความชำนาญในด้านของสมาธิภาวนาต่าง ๆ มีอยู่ ๕ ประการ คือ

๑. อาวัชชนวสี คือ เป็นผู้มีความชำนาญในการพิจารณาฌานต่าง ๆ หมายความว่า เราเป็นผู้รู้อารมณ์ฌานแต่ละระดับด้วยความคล่องแคล่วและชำนาญยิ่ง ว่าอารมณ์ในระดับนี้ ตอนนี้ กำลังอยู่ในฌานระดับไหน

ไม่ว่าจะเป็นอุปจารฌาน ที่สูงกว่าอุปจารสมาธิขึ้นมานิดหนึ่ง หรือว่าเป็น ฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ อรูปฌานที่ ๑ อรูปฌานที่ ๒ อรูปฌานที่ ๓ อรูปฌานที่ ๔ ไม่ว่าอารมณ์จะตกอยู่ในฌานระดับไหน จะพิจารณารู้ได้ทันที ว่าตอนนี้เราอยู่ในอารมณ์ฌานระดับใด

๒. สมาปัชชนวสี มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ สามารถเข้าสมาธิได้ทุกระดับ ทุกเวลาที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น อุปจารฌาน ฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ หรืออรูปฌาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องการเข้าระดับไหน เวลาใด สามารถเข้าได้ทันที จึงเรียกว่ามีความชำนาญในการเข้าฌานเป็นพิเศษ

๓. อธิษฐานวสี มีความชำนาญในการกำหนดใจให้เข้าสมาธิได้ตามเวลา อย่างเช่นว่า ตั้งเวลาไว้ ๑๕ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ครึ่งวัน ๑ วัน ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ถ้ามีความคล่องตัวมาก จะสามารถสั่งกำลังใจของตัวเองให้เข้าฌานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้นทันที เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้ว จิตก็จะคลายออกจากสมาธิมาเอง

๔. วุฏฐานวสี เป็นผู้ชำนาญในการออกจากฌาน คือไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิระดับไหน ก็สามารถที่จะกลับออกมาสู่อารมณ์ปกติหรือออกไปเพื่อเข้าสู่อารมณ์สมาธิระดับขั้นอื่น ๆ ได้โดยง่าย

๕. ปัจจเวกขณวสี ถ้าว่ากันตามรากศัพท์ คือ มีความชำนาญในการพิจารณาอารมณ์ฌานต่าง ๆ คือ การที่สามารถเข้าฌานสลับกันไป สลับกันมา ไม่ว่าจะขึ้นหน้าหรือถอยหลัง ทำได้โดยคล่องตัวตามที่ปรารถนาทุกประการ

ถ้าเรามีวสี คือความชำนาญทั้ง ๕ อย่างนี้ เราก็สามารถที่จะเข้าสมาธิได้ในทุกเวลา เรียกว่าเสียเวลาไม่ถึงชั่วลัดนิ้วมือเดียว คือไม่ทันจะดีดนิ้วขึ้น ก็สามารถที่จะเข้าสมาธิได้อย่างที่ตัวเองต้องการแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายมีความชำนาญในระดับนี้ จึงพอที่จะมีกำลังต่อต้านกิเลสได้ เพราะว่ากิเลสนั้นกินเราอยู่ตลอดเวลา

ตัวสมาธิภาวนาเหมือนกับเครื่องป้องกันที่เป็นทั้งเกราะและเป็นทั้งกำลัง คำว่าเป็นเกราะก็คือ ถ้าหากว่าเราเข้าสมาธิอยู่ กิเลสไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง ใด ๆ ก็ตาม ถึงจะมากระทบ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงใจของเราได้ เพราะติดอยู่ที่เกราะภายนอก และเป็นกำลังด้วย ก็คือ เป็นกำลังที่เราจะไปต่อต้าน ต่อสู้ หรือว่าใช้ในการตัดกิเลส
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 16-12-2010 เมื่อ 09:22
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา