ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 15-12-2010, 00:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,450
ได้รับอนุโมทนา 4,406,028 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓

ทุกคนขยับตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจของเรา หายใจเข้ากำหนดรู้ตามไปพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกกำหนดรู้ตามไปพร้อมกับคำภาวนา

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำต้นเดือนธันวาคมวันแรกของเรา วันนี้มีบุคคลเป็นจำนวนมาก ที่ถามถึงสมาธิภาวนาต่าง ๆ และโดยเฉพาะมีอยู่ส่วนหนึ่ง ที่ไม่เข้าใจว่าแต่ละอารมณ์สมาธินั้นเป็นอย่างไร คืออะไร

การที่เราไม่มีความคล่องตัวในการที่จะเข้าออกสมาธิ ทำให้เวลาที่กิเลสเข้ามากินเราแล้ว เราไม่สามารถที่จะต่อต้านได้ทันท่วงที เพราะสภาพจิต เมื่อปราศจากสมาธิก็เท่ากับไม่มีเกราะป้องกัน ทำให้โดนกิเลสครอบงำได้ง่าย

การที่เราปฏิบัติในสมาธิภาวนา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกซ้อมให้ชำนิชำนาญ สามารถที่จะเข้าออกสมาธิได้โดยคล่องตัว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จะเป็นเดิน ยืน นั่ง นอน หรือหกคะเมนตีลังกาอย่างไร ถ้าตั้งใจจะเข้าสมาธิต้องเข้าได้เลย เพื่ออาศัยกำลังสมาธิในการสกัดกั้นกิเลส

ถ้าสามารถทำได้คล่องตัวแล้ว ภาษาบาลีท่านเรียกว่า เกิดวสี คือ ความชำนาญ ขึ้นมา คำว่า วสีนี้ ไม่ใช่ นวสี ที่แปลว่า ป่าช้า ๙ อย่าง แต่เนื่องจากว่า วสีภาพ หรือลักษณะความชำนาญนี้ มี ๕ ประการด้วยกัน มักจะลงท้ายด้วยคำว่า นะ แล้วต่อด้วย วสี เราก็เลยไปเข้าใจว่า นวสี คือความคล่องตัวในการเข้าฌาน ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่

วสีภาพ คือ ความคล่องตัว การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งคล่องตัว เรียกว่า วสีทั้งสิ้น แต่ว่า นวสี ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็น การพิจารณาอสุภกรรมฐาน ๙ แบบด้วยกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-12-2010 เมื่อ 02:25
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา