ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 13-08-2018, 18:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,145 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วหวังความก้าวหน้า เมื่อเราทรงอารมณ์ได้ในขณะที่นั่งภาวนาแล้วออกจากที่นั้น ต้องใช้สติสมาธิประคับประคองรักษาอารมณ์ของเรา ให้มั่นคงอยู่กับการภาวนาไว้ ซึ่งถ้าเป็นการทรงอารมณ์ในช่วงนั้น แต่ละคนจะทำอะไรช้าลงโดยอัตโนมัติ เพราะกลัวว่าสมาธิจิตจะหลุดจากการภาวนา จะเป็นบุคคลที่พูดน้อยลงโดยอัตโนมัติ เพราะกลัวว่าคำพูด ความฟุ้งซ่านของเรา จะทำให้สมาธิจิตหลุดไปจากการภาวนา

แรก ๆ เราก็จะรักษาอารมณ์ได้แค่พักเดียวเท่านั้น ดีไม่ดีก็ไม่ถึง ๑ นาที ๒ นาทีเสียด้วยซ้ำไป แต่ถ้าหากเราเพิ่มความเพียรเข้าไป ก็จะรักษาได้นานขึ้น เป็น ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาที แล้วแต่ระยะเวลาที่ฝึกซ้อมการปฏิบัติ จนกระทั่งได้เป็น ๑๕ นาที ๒๐ นาที ครึ่งชั่วโมง ๑ ชั่วโมง ก็เท่ากับเรายืดระยะเวลาของการปล่อยอารมณ์ของเราให้ฟุ้งซ่านได้นานขึ้น สภาพจิตทรงความดีมากขึ้น รักษาความผ่องใสเอาไว้ให้ได้ยาวนานขึ้น

จนกระทั่งได้ ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมง ครึ่งวัน ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ๖ วัน ๑ อาทิตย์ ๒ อาทิตย์ ๓ อาทิตย์ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือนเป็นต้น

ถ้าเราสามารถรักษาอารมณ์จิตของเราให้ผ่องใสจากกิเลสได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ปัญญาที่เด่นชัดขึ้นมาเพราะกิเลสถดถอยไป ก็จะทำให้เรามองเห็นช่องทางว่า จะประคับประคองรักษาอย่างไร สภาพจิตของเราจึงจะผ่องใสเช่นนี้ได้ ถ้าจับจุดนี้ถูกเมื่อไร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมาถึงท่านทั้งหลายเมื่อนั้น

เพียงแต่ว่าการปฏิบัตินั้น จงอย่าตั้งอยู่ในความประมาท ต้องขยัน ทำแล้วรักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่อง มีหลายท่านเมื่อสมาธิจิตของเราถึงที่สุดแล้ว สภาพจิตจะคลายออกมาเองโดยอัตโนมัติ ถึงเวลานั้นให้รีบหาวิปัสสนาญาณให้สภาพจิตไปคิดไปพิจารณา มิฉะนั้น..จิตจะเอากำลังสมาธิที่ได้ ไปฟุ้งซ่านใน รัก โลภ โกรธ หลง แทน ซึ่งจะเป็นการฟุ้งซ่านที่รุนแรงมาก เพราะว่าได้กำลังจากสมาธิไปใช้ในการฟุ้ง กลายเป็นเราเลี้ยงเสือไว้กัดไว้ทำร้ายตัวเราเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2018 เมื่อ 20:22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา