ดูแบบคำตอบเดียว
  #169  
เก่า 13-03-2013, 17:38
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมาธิ กับ ความสงบ

“...คำว่าความสงบกับสมาธินั้นไม่ได้เหมือนกัน เมื่อพูดตามภาคปฏิบัติแล้ว ความสงบนั้นคือจิตสงบลงไป หรือว่ารวมลงไปหนหนึ่งแล้วถอนขึ้นมา ๆ เรียกว่าสงบเป็นครั้งคราว ในเวลาจิตที่รวมลงไปถอนขึ้นมานี้เรียกว่าความสงบ ทีนี้เวลามันสงบลงไปถอนขึ้นมาหลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคงภายในตัวของมัน ขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา จากความสงบที่สั่งสมกำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อย ๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมา แน่นหนามั่นคง นี่..เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

เวลาสงบแล้วถอนขึ้นมา ๆ นั้นเรียกว่า จิตสงบหรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมา ไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋ง ๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ.. สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น พอจิตเป็นสมาธิมีความสงบมันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่าง ๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ

จิตขั้นนี้เวลามันสงบมีกำลังมาก ๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิดการปรุงต่าง ๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้นไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่ว มีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่าเป็นความสะดวกสบายไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิจึงมักคิดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา.. ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้วจะติดได้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-03-2013 เมื่อ 18:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา