ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #22  
เก่า 24-03-2009, 08:46
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,905 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ช่างรัก
Lacquering



คำว่า "ช่างรัก" เป็นคำเรียกช่างประเภทหนึ่งซึ่งอาศัย "รัก" เป็นวัตถุปัจจัยสำคัญสำหรับประกอบงาน ศิลปกรรมเนื่องด้วยการตกแต่งที่ลักษณะของงานเป็นไปในลักษณะประณีตศิลป หรือมัณฑนศิลป เป็นต้น



รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทาหรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดี มีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้นซึ่งทาหรือเคลือบรักเป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อ ความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมก หรือสีเข้าด้วยกัน เชื่อมระหว่างผิวพื้นกับวัสดุ สำหรับตกแต่ง เช่น กระจกสี เปลือกหอย และยังใช้ผสมสีเข้าด้วยกันมาแต่โบราณกาล งานศิลปกรรมที่ประกอบด้วย รักลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กล่าวมานี้ เรียกว่า "เครื่องรัก" หรือ "งานเครื่องรัก"
"รัก" เป็นชื่อยางไม้ชนิดหนึ่งเป็นวัสดุที่ได้จาก "ต้นรัก" [lac tree (ภาษาพฤกษศาสตร์ ; melanorrhoea usitata)] คือต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อม การนำยางรักจากต้นรักมาใช้ ทำด้วยการกรีดหรือสับด้วยมีดที่ลำต้นรักให้เป็น รอยยาวๆ ยางรักจะไหลออกมาตามรอยที่กรีดหรือสับนั้น นำภาชนะเข้ารองรับน้ำยางรักเป็นคราวๆ เก็บรวบรวมไว้ ใช้งานตามขนาดที่ต้องการ ยางรักนี้บางแห่งเรียกว่า "น้ำเกลี้ยง" หรือ "รักน้ำเกลี้ยง" ก็มี "รักหรือยางรัก" แต่ละชนิดที่ช่างรักใช้ประกอบงานเครื่องรัก มีคุณลักษณะดังนี้
รักดิบ คือยางรักสดที่ได้จากการกรีดหรือสับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจากสิ่งสกปรกปะปน และจะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติใยยางให้ระเหยออกตามสมควรก่อน จึงนำไปใช้ประกอบงาน เครื่องรัก
รักน้ำเกลี้ยง คือรักดิบที่ผ่านการกรองและได้รับการขับน้ำเรียบร้อยแล้ว เป็นน้ำยางรักบริสุทธิ์จึงเรียกว่า "รักน้ำเกลี้ยง" เป็นวัสดุพื้นฐานในการประกอบงานเครื่องรักชนิดต่างๆ เช่น ผสมสมุก ถมพื้นทาผิว
รักสมุก คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับ "สมุก" มีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างข้น ใช้สำหรับอุดแนวทางลงพื้นและ ถมพื้น
รักเกลี่ย คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับสมุกถ่านใบตองแห้งป่น บางทีเรียกว่า "สมุกดิบ" ใช้เฉพาะงาน อุดรูยาร่อง ยาแนวบนพื้นก่อนทารักสำหรับปิดทองคำเปลว
รักเช็ด คือรักน้ำเกลี้ยง นำมาเคี่ยวบนไฟอ่อนๆ เพื่อไล่น้ำให้ระเหยออกมากที่สุด จนได้เนื้อรักข้นและเหนียว จัด สำหรับใช้แตะ ทา หรือเช็ดลงบนพื้นแต่บางๆ เพื่อปิดทองคำเปลว หรือทำชักเงาผิวหน้างานเครื่องรัก
รักใส คือรักน้ำเกลี้ยงที่ผ่านกรรมวิธีสกัดให้สีอ่อนจากและเนื้อโปร่งใสกว่ารักน้ำเกลี้ยง สำหรับใช้ผสม สีต่างๆ ให้เป็นรักสี
รักแต่ละชนิดดังที่ได้แนะทำให้ทราบนี้ล้วนมีที่มาจาก "รักดิบ" อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น รักแต่ละชนิดจะมีคุณภาพ มากหรือน้อยก็ดี นำมาประกอบงานเครื่องรักแล้วจะได้งานที่ดี มีความคงทนถาวรเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ พื้นฐานของรักดิบ ที่ช่างรักรู้จักเลือกรักดิบที่มีคุณภาพดีมาใช้
ในงานช่างรัก ยังมีวัสดุบางชนิดที่ควรอธิบายควบคู่กัน เนื่องด้วยเป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งสำหรับ ประกอบงานเครื่องรัก คือ "สมุก"
"สมุก" เป็นวัสดุที่ลักษณะเป็นผง หรือป่นเป็นฝุ่น สมุกที่ใช้ในงานเครื่องรักแบบไทยประเพณีอย่างโบราณวิธี มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด ดังนี้
สมุกอ่อน สมุกชนิดนี้ ได้แก่ ผงดินสอพอง ผงดินเหนียว เลือดหมูก้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นบางๆ และเรียบ
สมุกแข็ง ได้แก่ ผงถ่านใบตองแห้ง ผงถ่านหญ้าคา ผงปูนขาวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้ เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นหนาและแข็งมาก
งานของช่างรักที่เกี่ยวข้องกับงานประเภทประณีตศิลป ประเภทมัณฑนศิลป และประเภทวิจิตรศิลปที่ได้รับ การสร้างสรรค์ด้วยระเบียบวิธีของช่างรักอย่างโบราณวิธีมีอยู่มากหลายลักษณะด้วยกัน ได้เลือกเอางานช่างรักที่มี ลักษณะสำคัญในด้านรูปแบบที่แสดงออกลักษณะการตกแต่งแบบไทยประเพณีโดยแท้มาแสดงให้ทราบต่อไปนี้
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว
งานช่างประดับกระจก
งานช่างประดับมุก

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว หรืออย่างที่คนส่วนมากเรียกสั้นๆ ว่า "ลงรักปิดทอง" คือกระบวนการตกแต่ง ผิวภายนอกของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีด้วยการลงรักหรือทายางรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวทับทำให้ผิวของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมบางสิ่ง เป็นสีทองดำ เหลืองอร่ามและเป็นมันวาวเหมือนหนึ่งว่าทำด้วยทองคำอันเป็นความเชื่อโดยขนบนิยมในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลวได้ทำการที่เป็นงานปิดทองเป็น ๔ ลักษณะงานด้วยกัน คือ
งานลงรักปิดทองทึบ
งานลงรักปิดทองร่องชาด
งานลงรักปิดทองร่องกระจก
งานลงรักปิดทองลายฉลุ

งาน

งานปั้นดินดิบและงานปั้นดินเผา ดำเนินงานด้วยวิธีการและมีขั้นตอนโดยลำดับดังนี้
งานขึ้นรูป คือการก่อตัวด้วยดินขึ้นเป็นรูปทรงเลาๆ อย่างที่เรียกว่า "รูปโกลน" ลักษณะเป็นรูปหยาบๆ ทำพอ เป็นเค้ารูปทรงโดยรวมของสิ่งที่จะเพิ่มเติมส่วนละเอียดให้ชัดเจนต่อไป
งานปั้นรูป คือการนำดินเพิ่มเติมหรือต่อเติมขึ้นบนรูปโกลน หรือรูปทรงโดยรวมที่ได้ขึ้นรูปไว้แต่ต้นปรากฏ รูปลักษณะที่ชัดเจน ตามประสงค์ที่ต้องการจะปั้นให้เป็นรูปนั้นๆ จนเป็นรูปปั้นที่มีความชัดเจนสมบูรณ์ ดังความมุ่งหมายของช่างปั้นผู้ทำรูปปั้นนั้น
งานปั้นเก็บส่วนละเอียด เป็นกระบวนการปั้นขั้นหลังสุด โดยทำการปั้นแต่งส่วนที่ละเอียดให้ชัดเจนเน้น หรือเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการให้เห็นสำคัญ หรือแสดงออกความรู้สึกเนื่องด้วยอารมณ์ต่างๆ ของช่างปั้น
งานปั้นดินดิบนั้น เมื่อชิ้นงานสำเร็จก็มักผึ่งให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปใช้งานตามความประสงค์ต่างๆ บางอย่างที่ต้องการตกแต่งด้วยการระบายหรือเขียนสีเพิ่มเติมให้สวยงามตามความนิยมและความต้องการใช้งาน จะเขียนระบายด้วยสีฝุ่นผสมน้ำกาวทับลงบนรูปปั้นดินดิบทั้งในส่วนพื้นของรูปและส่วนที่แสดงรายละเอียด มีตัวอย่าง เช่น รูปปั้นหัววัว รูปปั้นหัวกวาง สำหรับแขวนประดับฝาผนัง รูปปั้นฤาษีต่างๆ รูปปั้นนางกวัก รูปปั้นละครยก ตุ๊กตาชาววัง เป็นต้น
อนึ่ง งานปั้นดินเผา ก็ดำเนินขั้นตอนการปั้นเช่นเดียวกับการปั้นดินดิบก่อนแล้วจึงจัดการเผาให้รูปปั้นดินนั้น ให้สุก ด้วยความร้อนที่ใช้ถ่านไม้หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงตามความเหมาะสมแก่ชิ้นงาน
งานปั้นดินเผาบางประเภทเมื่อเผาสุกได้ที่แล้วนำไปใช้งานในสภาพที่ชิ้นงานนั้นมีสีตามธรรมชาติของเนื้อดิน มีตัวอย่างเช่น พระพุทธพิมพ์ พระพุทธปฎิมากรรม ลวดลายต่างๆ สำหรับประดับงานสถาปัตยกรรม หางกระเบื้อง กาบกล้วย เป็นต้น
งานปั้นดินเผาบางประเภทต้องการตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการระบายสี และเขียนส่วนละเอียดให้สวยงามตาม ความนิยมและความต้องการใช้เช่น ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ตุ๊กตาชายหญิงทำเป็นข้ารับใช้ตามศาลพระภูมิ ตุ๊กตารูปช้างม้าสำหรับถวายแก้บนเจ้าและพระภูมิ ตุ๊กตารูปเด็กทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ ทำเป็นของเล่น เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 24-03-2009 เมื่อ 09:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา