ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 16-08-2011, 09:52
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. ถาม อารมณ์สงบที่ไม่มีความคิดใด ๆ ไม่มีคำภาวนาใด ๆ นั้น มีประโยชน์อย่างไร ตอบ “ความสงบเช่นนั้นเปรียบเหมือนกับน้ำที่ใส่แก้ว ตั้งอยู่ในที่สงบปราศจากลมพัด ตามที่ได้เคยอธิบายไว้แล้ว อารมณ์อย่างนี้ไม่อิงสุข ไม่อิงทุกข์ นั้นแหละเป็นอารมณ์สงบ เป็นอารมณ์กลาง ๆ เป็นอารมณ์อัพยากฤตหรืออารมณ์อุเบกขา อารมณ์ช่างมัน อารมณ์สังขารุเบกขาญาณตัวเดียวกัน พยายามทรงอารมณ์นี้ให้ได้บ่อย ๆ จนชำนาญและทรงตัว สังขารุเบกญาณก็เกิดได้ที่จุดนี้

๖. ถาม ควรจะทำอย่างไรกับเรื่องในอดีต มักเอามาพิจารณาเป็นปัจจุบัน ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ตอบ “อารมณ์นี้เขาเรียกว่า วิภาวตัณหา เหตุการณ์นั้นผ่านไปแล้ว เป็นอดีตธรรม จิตอยากจะให้ย้อนกลับมาเหมือนเดิม หรืออยากจะให้เป็นอย่างตนคิดในปัจจุบัน จัดเป็นอารมณ์หลง เป็นกามตัณหา-ภวตัณหา-วิภาวตัณหา (สิ่งที่ยังไม่มี-ไม่เกิด อยากให้มี-ให้เกิดขึ้น พอมีขึ้น เกิดขึ้นแล้วเป็นอัตตา แต่พอมันเสื่อมมันสลายเป็นอนัตตาหรือเป็นอดีตธรรมไปแล้ว จิตยังหลงจะให้กลับมาเป็นอย่างเก่าเหมือนเดิม ให้กลับมาเป็นปัจจุบันธรรม) ให้พิจารณาตัณหา ๓ นี้ให้ดี ๆ แล้วจะเข้าใจได้เอง”

๗. ถาม ควรปฏิบัติอย่างไร กับอารมณ์จิตที่ชอบส่งออกนอกตัว เป็นธัมเมาอยู่เสมอ หรือชอบตั้งบริษัทส่งออกและบริษัทนำเข้า ตอบ “ให้ใช้อานาปานุสติ กลับมาสนใจธรรมภายใน คือ กำหนดรู้ลม จับลมและตามลมก็จะทำให้อารมณ์สงบไม่ฟุ้งซ่าน-ไม่ส่งออก หากเข้าใจเอาประโยชน์จากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก้ไขได้ทั้งอารมณ์ โมหะ-โทสะและราคะอย่างอารมณ์โลภ ให้สังเกตดูอารมณ์จิตที่อยากได้อาหาร ซึ่งความอยากเป็นกิเลสตัณหาที่จิตสร้างขึ้น ส่วนการหิวอาหาร เป็นเวทนาของกายตามปกติธรรมของกาย ไม่ใช่กิเลส แต่เป็นทุกข์ของกายซึ่งมีอยู่คู่กับการเกิดมามีร่างกาย ไม่มีใครจะไปห้ามมันได้ ตอนที่กายหิว ร่างกายจะทำงานช้าลง ลมหายใจยาวแต่แผ่วทั้งขาเข้าและขาออก แบบไม่มีแรง ช่องท้องรู้สึกในกระเพาะจะเบา เหมือนมันไม่มีอะไรอยู่ข้างใน ต่อไปในขณะกินอาหารก็ให้กำหนดรู้ลมไปด้วย อิ่มแล้วก็ให้รู้ลม สังเกตไปเรื่อย ๆ แล้วจะรู้ธรรมได้ต่อเนื่องจากการรู้ลมนี่แหละ

หลวงปู่ท่านให้ดูลมไปเรื่อย ๆ จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามอารมณ์ของจิต เช่น สูดหายใจยาว ๆ ก็หมายถึงความโลภอยากได้อากาศมากเป็นต้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ความชำนาญจะได้เกิดและความละเอียดของจิตก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นในเรื่องอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ หรือราคะ (โลภะ) กับปฏิฆะ) เป็นการปฏิบัติที่ใช้ตัดสังโยชน์ข้อที่ ๔ และ ๕ ได้อย่างดี

ธรรมของพระพุทธเจ้าท่านเป็นปัจจัตตัง ปฏิบัติถึงแล้วก็จะรู้ได้ด้วยจิตของตนเอง เฉพาะตน ของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน อย่าไปอยากรู้ก่อนเกิดก็แล้วกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 16-08-2011 เมื่อ 11:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา