ดูแบบคำตอบเดียว
  #12  
เก่า 25-02-2009, 19:54
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,289 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

จิตตานุภาพ

จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิต แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
๑. จิตตานุภาพบังคับตนเอง
๒. จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
๓. จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

จิตตานุภาพบังคับตนเอง
“ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง”


เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเอง ผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรู ก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเอง ถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อื่นให้ดีได้
จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ
๑. บังคับความหลับและความตื่น
๒. ทำความคิดให้ปลอดโปร่งว่องไวในเวลาตื่นขึ้นแล้ว
๓. เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ
๔. สงบใจแม้เมื่อตกในอันตราย
๕. เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดี
๖. ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอ
๗. ป้องกันรักษาด้วยจิตตานุภาพ

๑. บังคับความหลับและตื่น การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนัก เหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการคือ
๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ
๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน

อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวา ถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย ถ้าต้องการพลิก ก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อยแล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม นอนย่อมให้อวัยวะทุกส่วนผ่อนพัก อย่าให้เกร็งตึง และไม่ควรตะแคงซ้าย

เวลานอน ถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรคิดถึงอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแต่สิ่งเดียว ครั้นแล้วก็เลิกละ ไม่คิดสิ่งนั้นและไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีก กระทำใจให้หมดจด เหมือนน้ำที่ใสสะอาด

ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่ว สั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น นึกแน่วอยู่อย่างเดียวว่าจะต้องตื่นเวลาเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามประสงค์


๒. ทำความคิดให้ปลอดโปร่งว่องไวในเวลา ตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึม “ต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้า ไปประสานติดต่อกับความคิดที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ” ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นนั้นไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ พอตื่นขึ้นก็หยิบดู เพื่อปลุกความคิดให้ตื่น


๓. เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ คือเมื่อต้องการคิดอย่างใด ก็ให้คิดได้อย่างนั้น ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมด และเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไป จะคิดเรื่องอื่น ก็ให้เปลี่ยนได้ทันที และทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพัน คือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้า การเปลี่ยนความคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราว ทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น


๔. สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสพทุกข์ อย่าให้เสียใจ หมดสติ สะดุ้งดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป ความสงบไม่ตื่นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้น ก็มีทางจะทำได้อยู่ ๒ ขั้น


๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น
๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม
วิธีที่สงบใจที่ดีที่สุด คือหายใจยาวและลึก


๕. เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจาก ร้ายเข้ามาหาดี การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่ง อาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิต แต่การทำตามใจตัวขณะเดียว ก็อาจเป็นผลถึงกับทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน


๖. ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดย สม่ำเสมอ ให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่ ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางลงหมดสิ้นไปหรือไม่ ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่


๗. ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพ การสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบ และเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็ว ความไม่กลัวตายรอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตาย ความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา