ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 16-07-2016, 22:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,106 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่ออานาปานสติเป็นหนึ่งในกรรมฐานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สารพัดอย่าง เราก็ไม่ควรที่จะทิ้ง แต่ละวันควรจะมีเวลาที่อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างจริง ๆ จัง ๆ ถ้าไม่ได้มาก อย่างน้อยก็เช้า ๓๐ นาที เย็น ๓๐ นาที หรือถ้าหากว่าใครปลีกตัวได้ มีเวลาว่างด้วย ก็กลางวันอีกสัก ๓๐ นาทีเป็นอย่างน้อย พออารมณ์ใจของเราทรงตัวตั้งมั่นแล้ว การระมัดระวังในศีลก็เป็นเรื่องที่ง่าย เพราะว่าสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจเฉพาะหน้า โอกาสที่จะละเมิดศีลก็ไม่มี

ถ้าหากว่าสมาธิทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิ เราก็ใช้กำลังของการรักษาศีลนี้ พิจารณาต่อไป ว่าไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นจะเบียดเบียนกันด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หรือไม่ก็ตาม ท้ายสุดก็ล้วนแล้วแต่ต้องตายทั้งสิ้น ถ้าหากว่าการตายแล้ว ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดใหม่ ก็ต้องประกอบไปด้วยความทุกข์ ในเมื่อเราเองเบื่อหน่าย ไม่ต้องการการเกิดที่เต็มไปด้วยความทุกข์เช่นนี้ ก็ให้ตั้งเป้าไว้ว่า ถ้าหากว่าเราตายลงไปเมื่อไร ขอไปพระนิพพานแห่งเดียว

เมื่อวางกำลังใจลักษณะนี้ได้ ก็ให้จับภาพพระ หรือจับพระนิพพาน แล้วภาวนาต่อไป ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้บ่อย ๆ นอกจากศีลทรงตัวแล้ว กำลังใจของเรายังค่อย ๆ ปลดค่อย ๆ ละออกจากร่างกายนี้ ออกจากโลกนี้ แล้วท้ายที่สุด ถ้าหากว่าเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่มีความต้องการการเกิดจริง ๆ ก็สามารถที่จะหลุดพ้นไปพระนิพานได้

ลำดับต่อไปขอให้ท่านทั้งหลาย ตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-07-2016 เมื่อ 11:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา