ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 12-12-2011, 11:04
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,502 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้การทำความสะอาดภายในเราต้องทำอย่างไร ? เราก็ต้องทำความสะอาดด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสเบื้องต้นที่เรียกว่า วีติกกมกิเลส กิเลสที่เกิดจากการล่วงละเมิดต่อข้อห้ามต่าง ๆ ด้วยกายและวาจา อย่างเช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การดื่มสุราเมรัย นี่เป็นการล่วงละเมิดด้วยกาย การพูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดวาจาไร้ประโยชน์ เป็นการล่วงละเมิดด้วยวาจา

ถ้าเรารักษาศีลได้ ก็แปลว่าสามารถกำจัดวีติกกมกิเลสส คือกิเลสที่เกิดจากการล่วงละเมิดนี้ออกจากใจของเราได้ เท่ากับว่าความสะอาดในเบื้องต้นของจิตใจของเราก็มีขึ้นได้ เกิดขึ้นได้

หลังจากนั้นก็ต้องใช้สมาธิในการชำระล้าง กำจัดปริยุฏฐานกิเลส ก็คือกิเลสที่ก่อตัวอยู่ภายใน พร้อมต่อการล่วงละเมิดด้วยกาย ด้วยวาจา ก็คือตัว ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง

ตัวราคะจะทำให้เราล่วงละเมิดลูกเขาเมียใคร ตัวโทสะจะทำให้เราฆ่าเขาทำร้ายเขา ตัวโลภะจะทำให้เราลักขโมยช่วงชิงของคนอื่น เป็นต้น ถ้าหากว่าเราสามารถทรงสมาธิอยู่ได้ กำลังใจทรงตัวต่อเนื่องอยู่ตลอด ก็จะสามารถระงับยับยั้งกำจัดปริยุฏฐานกิเลส ที่อยู่ในใจของเราลงได้ เป็นการชำระล้างทำความสะอาดใจของเราในระดับที่ ๒

ส่วนระดับที่ ๓ นั้นเป็นการชำระล้างทำความสะอาดจิตใจขั้นสูงสุด ก็คือใช้ปัญญาในการกำจัดอนุสัยกิเลส คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของเรา เหมือนกับตะกอนที่นอนอยู่ก้นภาชนะ ถ้าไม่มีใครไปแกว่งไปกระทบ ตะกอนก็นอนนิ่งอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากว่ามีการกระทบเมื่อไร ตะกอนก็จะฟุ้งขึ้นมาทันที

อนุสัยกิเลส อย่างเช่น กามราคานุสัย กิเลสคือกามราคะที่นอนเนื่องอยู่ ปฏิฆานุสัย กิเลสก็คือเมื่อกระทบแล้วเกิดโทสะนอนเนื่องอยู่ในใจ หรือ อวิชชานุสัย กิเลสก็คืออวิชชา ความมืดบอด ความหลงผิดที่นอนเนื่องอยู่ในใจของเรา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้บางทีถ้าศีลเราดี สมาธิเราดี ก็จะโดนกดให้นิ่งสนิทไป ไม่รู้ว่ายังมีอยู่ในใจ แต่ถ้าได้รับการกระทบเมื่อไร ก็จะรู้ทันทีว่าเรายังมีกิเลสอยู่ในใจอย่างครบถ้วน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-12-2011 เมื่อ 16:29
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา