ดูแบบคำตอบเดียว
  #22  
เก่า 06-09-2017, 17:42
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,447
ได้ให้อนุโมทนา: 151,085
ได้รับอนุโมทนา 4,399,774 ครั้ง ใน 34,036 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ผู้อาพาธเป็นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งพวกยาเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่รักษาโรคนี้ โดยปกติบุคคลทั่วไป แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาจำนวน ๒ มื้อ คือ เช้าและเย็น หากแต่ในกรณีของพระภิกษุสงฆ์นั้น พระท่านมีวิธีการเลือกฉันยาอย่างไรในกรณีที่ฉันได้แค่มื้อเช้าและเพล ?
ตอบ : ฉันทุกมื้อนั่นแหละ ท่านไม่ได้บอกว่ายาก่อนหรือหลังอาหารนี่นา ถ้าเป็นยาหลังอาหาร พวกปานะต่าง ๆ ก็สามารถฉันรองท้องได้เป็นปกติอยู่แล้ว คุณจะไปเดือดร้อนอะไร ก็ฟาดน้ำส้มไปสักหนึ่งลิตร..!

ถาม : ช่วงมื้อเย็น พระท่านสามารถฉันอะไรได้บ้างที่เหมาะสมแก่สมณสารูป หากแต่ไม่ทำร้ายขันธ์ด้วยอาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ?
ตอบ : น้ำส้มก็ได้ ไม่หวานอยู่แล้ว ในพระบาลีท่านว่า สัปปิ เนยใส นวนีตัง เนยข้น มธุ น้ำผึ้ง เตลัง น้ำมัน ผาณิตัง น้ำอ้อยหรือว่าน้ำตาล ภายหลังก็อนุญาตอัฏฐปานะ ก็คือ น้ำที่คั้นจากผลไม้หรือเหง้าไม้ทั้งหมด ๘ อย่างด้วยกัน ภายหลังบัญญัติเพิ่มขึ้นว่า ผลไม้ที่โตไม่เกินกำปั้นหรือโตไม่เกินลูกมะตูมก็ทำน้ำปานะได้

ก็เลือกเอาสิว่าอะไรที่ไม่หวานมาก แต่จริง ๆ แล้วความหวานจากน้ำตาลผลไม้กลับดีต่อผู้เป็นเบาหวาน เพราะว่าร่างกายดึงไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผลิตอินซูลินออกมาเพื่อย่อยสลายก่อน


ถาม : น้ำผึ้งจากเกสรดอกลำไย ถือว่าเป็นคิลานเภสัชตามพุทธบัญญัติหรือไม่ ?
ตอบ : จะเป็นน้ำผึ้งจากดอกอะไรก็ใช่ทั้งนั้นแหละ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 06-09-2017 เมื่อ 23:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา