ดูแบบคำตอบเดียว
  #234  
เก่า 27-01-2020, 09:07
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,803 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โยนิโสมนสิการ คือการน้อมนำสิ่งทั้งหลายเข้ามาโดยแยบคาย คำว่าโดยแยบคายก็คือ ต้องมีปัญญาเลือกเอาสิ่งที่ดี ๆ เข้ามา คัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป จริง ๆ แล้วก็อยู่ในหลักปธาน ๔ อย่าง ดูว่าใจเรามีความชั่วไหม ? ถ้ามีอยู่ก็ไล่ออกไป ระวังไว้อย่าให้เข้ามาอีก ใจเรามีความดีไหม ? ถ้าไม่มีก็สร้างขึ้นมา มีแล้วก็ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

คราวนี้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็ต้องดูเสียงสะท้อนจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะครู ที่บาลีท่านใช้คำว่า กัลยาณมิตร กัลยาณมิตรในบาลีนี้คือครูแท้ ๆ เลย ปิโย มีความน่ารักน่าใกล้ชิด ครุ มีใจคอหนักแน่น ไม่เปลี่ยนแปลงแปรปรวนง่าย ภาวนีโย เป็นผู้แสวงหาความเจริญ คือแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ หลังจากนั้นไม่ว่าจะ วตฺตา เป็นผู้รู้จักใช้คำพูด วจนกฺขโม ทนต่อวาจาผู้อื่น ทนต่อการตำหนิด่าว่าของผู้คน ฯลฯ จนกระทั่งท้ายสุด โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่นำพาไปในทางเสียหาย อันนั้นบอกเอาไว้ชัดเลยว่าต้องเป็นครู ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย

เพราะฉะนั้น..ในเมื่อมีเสียงสะท้อนจากภายนอก เราก็คัดเลือกรับเอาส่วนที่เหมาะสมเข้ามาปรับปรุง กาย วาจา ใจ ของเรา ก็จะมีความดีเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดความดีมากเข้า ๆ สิ่งไม่ดีเหมือนกับเกลือในน้ำ น้ำจืดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกลือถึงจะอยู่ก็แสดงออกไม่ได้แล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-01-2020 เมื่อ 11:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา