ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 28-03-2020, 21:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,515 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่คราวนี้การที่เราตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ถ้าสมาธิเริ่มแนบแน่นมากขึ้น ลมหายใจเข้าออกของเราก็จะเบาลง บางทีก็หายไป ถ้าใช้คำภาวนาควบอยู่ก็หายไปด้วย ส่วนมากพอมาถึงตรงนี้แล้วก็มักจะตกใจ คิดว่าตนเองไม่หายใจแล้ว อาจจะตายได้ แล้วก็ตะเกียกตะกายกลับมาหาลมหายใจใหม่ เปรียบเหมือนกับคนเดินขึ้นบันไดไปแล้ว พอถึงเวลาก็ตะกายกลับลงไปข้างล่างใหม่ โอกาสที่จะก้าวหน้าในสมาธิก็ไม่มี

ส่วนหลายท่านนั้นศึกษามาไม่ทั่วถึง ไม่รู้ว่าจะจัดการกับลมหายใจเข้าออกอย่างไร ให้ดูในมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ว่าจะเป็นมหาสติปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎกก็ดี มหาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย พระสุตตันตปิฎกก็ดี หรือว่าอานาปานสติ หรือว่าสติปัฏฐานในวิสุทธิมรรคก็ดี

เราจะเห็นว่าท่านใช้คำว่า หายใจเข้ายาว รู้อยู่ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว รู้อยู่ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น รู้อยู่ว่าหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น รู้อยู่ว่าหายใจออกสั้น ก็แปลว่าลมหายใจของเราจะแรงหรือจะเบา จะยาวหรือจะสั้น ให้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย

คราวนี้หลายท่านศึกษามาว่า ต้องกำหนดลมหายใจ ๓ ฐาน ๗ ฐาน แล้วไม่สามารถที่จะทำได้ ก็เกิดความเครียดขึ้นมา ถ้าเราศึกษาในวิสุทธิมรรคจะเห็นชัด ท่านกล่าวถึง ผุสนา คือการใช้อานาปานสติประกอบกับฐานลมต่าง ๆ อผุสนา การที่ไม่ต้องจับฐานลมทั้งหลายเหล่านั้น แค่กำหนดรู้ลมหายใจเฉย ๆ ในส่วนอื่น ๆ ที่มากไปกว่านี้จะไม่กล่าวถึง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2020 เมื่อ 02:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา