ดูแบบคำตอบเดียว
  #32  
เก่า 21-12-2009, 16:15
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Lightbulb

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้รู้เป็นอันขาด เพราะธรรมทั้งหลายที่พวกเจ้ารู้ได้เวลานี้
เป็นการสงเคราะห์ของพระ ยังไม่ใช่ความรู้ธรรมที่แท้จริง
อันซึ่งต้องเกิดจากจิตที่พิจารณาธรรมด้วยปัญญายอมรับนับถือในธรรมทั้งปวง
และจักต้องละกามฉันทะและปฏิฆะได้แล้ว นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง


พวกเจ้าจักต้องปรามจิตเอาไว้เสมอ อย่าเผลอกล่าวธรรมเป็นเชิงอวดอ้าง อวดวิเศษทั้ง ๆ ที่ยังปฏิบัติมิได้ผล
ต่อไปนี้ พวกเจ้าไม่ว่าจักคิด จักพูด จักทำอะไร จงให้ศีลสมาธิ ปัญญาควบคุมอยู่ในเวลานั้น อย่าให้บกพร่องแม้แตเรื่องเดียว


ศีล สมาธิ ปัญญา จักละเอียดขึ้นได้ก็อยู่ที่เอามาใคร่ครวญอยู่เสมอ
การพิจารณาในขณะที่จักกระทำกรรมอยู่นั้น เป็นการทำให้ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นในจิตพร้อม ๆ กันทั้ง ๓ สิกขาบท
พวกเจ้าจึงจักมีความก้าวหน้าในอริยมรรค อริยผลยิ่งขึ้น


การใคร่ครวญสมาธิ คือ จิตมีโอกาสพักอยู่ในสมถะภาวนา
แต่ในบางขณะ บุคคลที่มีอารมณ์เผลอ มักจักปล่อยอารมณ์ของจิตให้เคว้งคว้างขาดสติ
อย่างกับคนใจลอยเดินข้ามถนน จนถูกรถชนตายเป็นต้น
จักว่ามีอารมณ์คิดก็ไม่ใช่ จักว่ามีอารมณ์พักก็ไม่เชิง จิตมันเหม่อลอยจนเพลินไป

เพราะฉะนั้น ในบุคคลที่เป็นนักปฏิบัติ จักต้องรู้ว่า เวลานี้จิตต้องการพัก ก็จักใคร่ครวญ
คือตรวจสอบดูว่าอารมณ์ของจิตนั้นจับอยู่ในสมถะภาวนาหรือไม่
หรือว่าเผลอเรอ ปล่อยสมาธิที่กำหนดรู้สมถะภาวนานั้นไปจากจิต




คนฉลาดเขาจักต้องรู้และทำการศึกษาใคร่ครวญ ศีล สมาธิ ปัญญาให้อยู่ในจิตเสมอ ๆ เยี่ยงนี้แหละเจ้า เข้าใจไหม

อย่าทิ้งความเพียรในการกำหนดรู้ศีล สมาธิ ปัญญาในจิตนี้ ทำบ่อย ๆ ใจเย็น ๆ ทำไปเรื่อย ๆ
ในที่สุดจิตจักชิน ศีล สมาธิ ปัญญาก็จักอยู่ในจิตได้ตลอดเวลา



ในเมื่อเข้าใจแล้ว ก็จงหมั่นนำไปปฏิบัติด้วย แต่อย่าสร้างอารมณ์หนักใจให้เกิด
พยายามรักษาอารมณ์จิตให้เบา ๆ แต่เต็มไปด้วยความพร้อมที่จักปฏิบัติเข้าไว้ให้ทุกเมื่อ
ด้วยอารมณ์มัชฌิมาปฏิปทา มรรคผลก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่าย


หากความหนักใจในอารมณ์เกิดขึ้น ก็จงกำหนดรู้ว่า อารมณ์นี้ไม่ถูกต้องเสียแล้ว
เพราะเป็นอารมณ์ของความทุกข์ จักต้องหมั่นหาทางแก้ไขอารมณ์นั้นทิ้งไป


การเจริญพระกรรมฐาน มุ่งหวังให้จิตเป็นสุข สงบ เยือกเย็น
ไม่ว่าจักเป็นทางด้านสมถะหรือวิปัสสนา ต้องหมั่นดูผลที่ได้เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลา
เป็นการตรวจสอบอารมณ์ของจิต อย่าให้เดินมรรคได้ผลผิด ๆ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา