ดูแบบคำตอบเดียว
  #25  
เก่า 16-11-2009, 17:50
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Lightbulb

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


สังขารุเบกขาญาณตัวจริงนั้นเป็นอย่างไร

ร่างกายไม่ดี ฝืนไม่ได้ก็จงอย่าฝืน การกำหนดรู้เวทนาเป็นของดี การวางเฉยไม่บ่นในเวทนานั้นก็เป็นของดี แต่จักให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ก็จงดูอารมณ์ว่า มีความวิตกกังวลกับร่างกายมากน้อยเพียงใด ดูผิวเผินเสมือนหนึ่งไม่มีจิตเกาะเวทนานั้น ๆ
แต่ควรจักมองให้ลึก ๆ เข้าไปถึงอารมณ์ที่ไม่โปร่งของจิต ก็จักเห็นอาการของจิตที่ยังเกาะเวทนานั้นอยู่ ไม่มากก็น้อย
คือ ลักษณะของอารมณ์จิตยังอึดอัดมีการเหมือนอดทนต่อเวทนานั้น
จิตยังมีอาการหนักอึดอัดก็คือ จิตไม่วางอาการเวทนาของร่างกาย


หากเป็นสังขารุเบกขาญาณตัวจริง เวทนาจักสูงสักเพียงใด อารมณ์ของจิตจักไม่หนักใจในอาการนั้น
จิตโปร่งไม่ยึดเกาะอาการเวทนาใด ๆ ทั้งสิ้น เหมือนดั่งในวาระที่ท่านฤๅษีจักละขันธ์ ๕ มาครั้งนั้น
อารมณ์จิตของท่านฤๅษีโปร่งเบา มิได้ขัดเคืองกับทุกขเวทนาของขันธ์ ๕ เลย
นั่นแหละเป็นของจริงแห่งอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ คือ

จิตยอมรับและปล่อยวางร่างกายไปตามสภาพของความเป็นจริง
ยอมรับกฎของกรรม หรือธรรมดาของร่างกายอย่างจริงใจ



อาการหนักของจิต จักต้องดูและรู้ด้วยตาปัญญา คือ อย่าให้กิเลสมันมาบังความจริง
ว่าจิตหามีความหนักไม่ ทั้ง ๆ ที่ยังมีอารมณ์หนักอยู่ เหมือนคนเดินตัวเปล่าก็โปร่งเบา
ซึ่งต่างกับคนเดินแบกสัมภาระย่อมหนัก ฉันใดก็ฉันนั้น หากจิตไม่เกาะเวทนาจริง ๆ
ก็จักมีสภาพตามนี้ สอบจิตดูอารมณ์ไว้ให้ดี ๆ


การจักปลดความหนักของจิตลงได้ ต้องอาศัยพิจารณากฎไตรลักษณญาณ
เห็นเกิด เสื่อม ดับของขันธ์ ๕ ซึ่งยึดถือมาเป็นสารสาระไม่ได้
และยึดสมถะภาวนา ๓ กอง มาเป็นกำลัง คือมรณานัสสติ อสุภะ และกายคตานัสสติ
ทำลายความยึดมั่นถือมั่นลงไปในความเกาะติดว่า ขันธ์ ๕ นี้เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราและควบคุมอุปสมานัสสติเอาไว้
ขออยู่กับสภาพไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ อันมีความเที่ยงของมันอยู่อย่างนั้นเป็นครั้งสุดท้าย

ขันธ์ ๕ นี้ตายลงเมื่อไหร่ ตั้งใจไปพระนิพพานเมื่อนั้น


กรรมฐานเหล่านี้ พวกเจ้าต้องทำควบคู่กันไปตลอดเวลา
จักทำให้บารมี คือ กำลังใจตัดกิเลสทรงตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป รักษากำลังใจจุดนี้ไว้ให้ดี ๆ
จงจำปฏิปทาของท่านฤๅษีเอาไว้ ท่านทำเพื่อความไม่ประมาทโดยตรง

รักษากำลังใจให้ดี คือ ไม่คิดให้จิตต้องเศร้าหมอง ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ท่านทำมาโดยตลอดจนกระทั่งจิตทรงตัวอยู่ในความดี มีจิตผ่องใสหมดจดจากความประมาทได้ในที่สุด



จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา