ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 19-03-2017, 12:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,702
ได้รับอนุโมทนา 4,397,155 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สำหรับบางท่านแล้วถ้ารู้สึกว่าไม่ไหวจริง ๆ เพราะสภาพจิตฟุ้งซ่านมาก ก็ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้า ดูว่าจิตของเราคิดอะไร ถ้าเราจดจ่อคอยดูอยู่ สภาพจิตของเราจะคิดได้ไม่นาน เพราะว่าตัวรู้ที่ลงไปปรุงแต่งเหลือน้อย เมื่อตัวรู้กลายเป็นผู้จับจ้องดูว่าเราคิดอะไร สภาพจิตก็ไม่สามารถที่จะปรุงแต่งต่อไปได้นาน ก็จะยอมสงบนิ่ง ยอมอยู่กับลมหายใจในที่สุด

การกำหนดลมหายใจนั้น เราจะจับจุดกระทบฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน ก็แล้วแต่เราถนัด ถ้าการปฏิบัติใหม่ ๆ รู้สึกวาการจับลม ๓ ฐาน ๗ ฐานเป็นเรื่องยาก เราก็เอาฐานเดียว อย่างเช่นว่าจับอยู่เฉพาะที่ปลายจมูก ลมหายใจเข้ารู้สึกว่าหายใจเข้าผ่านจมูก ลมหายใจออกรู้สึกว่าหายใจออกผ่านจมูก หรือจะจับตรงส่วนของท้องซึ่งเป็นที่สุดของลมหายใจ ลมหายใจเข้าไปจนสุดที่ท้อง รู้อยู่ว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดที่ท้อง ลมหายใจออกจากท้อง รู้อยู่ว่าออกจากท้องมาแล้ว

คำภาวนาก็อย่าใช้คำภาวนาที่ยาวมาก เพราะถ้าไม่มีความคล่องตัวแล้ว การใช้คำภาวนายาว ๆ จะลำบากในการจับลมหายใจไปด้วย เมื่อไม่มีความชำนาญ คำภาวนาลงตัวกับลมหายใจได้ยาก การภาวนามีการสะดุดหยุดยั้งเป็นระยะ ก็อาจจะเบื่อหน่าย รำคาญ ฟุ้งซ่านจนภาวนาไม่ได้ก็มี ให้ใช้คำภาวนาสั้น ๆ อย่างเช่น พุทโธหรือนะมะพะธะ หรือพองหนอ ยุบหนอก็ได้ เพียงแต่ว่าสติของเราต้องจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจและคำภาวนาเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-03-2017 เมื่อ 14:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา