ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 22-04-2010, 15:36
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

วิจารณ์

สำหรับพวกที่ยังไม่ได้กสิณ อาจคิดว่าตนทำไม่ได้ ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมดังนี้

๑. ความสำคัญหรือหลักในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ก็คือการระงับนิวรณ์ ๕ ให้ได้เสียก่อน

๒. แม่บทที่ทำให้จิตสงบ เป็นฌาน เป็นสมาธิได้ คือ อานาปานุสติ ผู้ใดไม่สนใจจุดนี้ ก็อย่าหวังที่จะทำให้จิตสงบและทรงตัวได้

๓. ผู้ไม่ได้กสิณ ให้สังเกตเอาเสียงเป็นหลักสำคัญ หากหูได้ยินเสียงดี แต่จิตเราไม่รำคาญในเสียง คงพิจารณาได้ต่อเนื่องนั่นคือ จิตถึงปฐมฌาน จัดเป็นอัปปนาสมาธิ ซึ่งมีกำลังพอพิจารณาตัดกิเลสให้ขาดได้แล้ว

หากจับรู้ลมหายใจเข้าและออกควบกับคำภาวนาอยู่ แล้วคำภาวนาหายไป จิตสงบดี หูได้ยินเสียงเบาลง นั่นเป็นฌานที่ ๒

หากปฏิบัติต่อ รู้สึกว่าตัวแข็ง ขยับตัวไม่ได้ อย่าตกใจ อย่ากลัวตาย ขณะนั้นเสียงจะเบาลงมาก ขณะนั้นจิตเข้าสู่ฌานที่ ๓

และหากเสียงหายไป หูไม่ได้ยินเสียงเลย กายจะเบา จิตจะเบาสบาย ขณะนั้นเป็นฌานที่ ๔ อย่างหยาบ และหากรู้สึกว่าแม้แต่กายก็ไม่มี หายไปด้วย จิตเบาสบาย และเป็นสุขมาก ขณะนั้นเป็นฌาน ๔ อย่างละเอียด ให้ใช้หลักการนี้เป็นข้อสังเกต

๔. อาการง่วงเหงาหาวนอนเกิด อย่าฝืน ให้ลุกขึ้นเคลื่อนไหวร่างกายโดยการเดิน ถ้าระงับนิวรณ์ ๕ ไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่มีผล

๕. อารมณ์จริงต้องเบา ๆ สบาย ๆ หากหนักและเครียด ไม่ใช่อารมณ์จริง ตึงเกินไปก็ไม่มีผล หย่อนเกินไปก็ไม่มีผล การบรรลุต้องใช้ทางสายกลางทั้งสิ้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา