ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 31-01-2014, 11:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,915 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของสมาธิจริง ๆ เป็นคำตอบเกือบทั้งหมดของการปฏิบัติธรรม ยกเว้นในส่วนของปัญญาที่เป็นช่วงท้าย ถึงจะตัดละเข้าหามรรคหาผล แต่ก็ต้องอาศัยพื้นฐานของสมาธิเป็นกำลังในการตัดกิเลสอยู่ดี พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนตนเองว่า เราสามารถเข้าสมาธิได้ทุกเวลาที่ต้องการหรือไม่ ? เมื่อเวลาที่เราหิวมาก ๆ เหนื่อยมาก ๆ เจ็บไข้ได้ป่วย เราสามารถทรงสมาธิได้เหมือนเวลาปกติหรือไม่ ?

ถ้าเราไม่สามารถทำได้ ก็ต้องเร่งซักซ้อมให้มากไว้ เพื่อที่ถึงเวลาแล้ว จะได้อาศัยกำลังของสมาธิในการช่วยตนเอง รักษาตนเอง ป้องกันไม่ให้รัก โลภ โกรธ หลง เกาะกินใจของเราได้ การที่เราจะรักษาสมาธิของเราให้ทรงตัวได้ จิตใจของเราต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจเข้าออก สภาพจิตของเราต้องแนบชิดอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก อยู่กับการภาวนาเป็นปกติ ยกเว้นท่านที่มีความคล่องตัวแล้ว จะส่งจิตไปกราบพระบนพระนิพพาน หรือว่าจะเอาจิตของเราเกาะพระหรือเกาะพระนิพพานไว้ก็ได้ ให้ซักซ้อมเอาไว้ทุกวัน ๆ จนสามารถที่จะเข้าสมาธิเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการ

ถ้าทำดังนั้นได้ เราจึงจะมีกำลังเพียงพอ ที่จะระมัดระวังป้องกันไม่ให้กิเลสกินใจของเราได้ ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-01-2014 เมื่อ 16:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา