ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 26-01-2014, 18:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,905 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗

ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่ถนัดของตน เพียงแต่ว่าตั้งกายให้ตรงไว้ เพื่อที่เลือดลมจะได้เดินสะดวก สมาธิจะทรงตัวได้ง่าย หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นค่อยปล่อยลมหายใจให้เป็นไปตามปกติ เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา ให้ใช้คำภาวนาที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันสุดท้ายในเดือนมกราคมของพวกเรา ดังที่เมื่อครู่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในเรื่องของสมาธินั้น สามารถระงับกายสังขาร ทำให้อาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เป็นอยู่เหมือนกับไม่ได้เป็น เนื่องจากว่าเมื่อสมาธิทรงตัว จิตกับประสาทจะแยกเป็นคนละส่วนกัน ไม่รับรู้อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนั้น อาการป่วยหนักก็เหมือนกับเป็นเบา อาการป่วยถ้าเบาก็เหมือนกับไม่ได้เป็นอะไร

จึงเป็นเรื่องที่พวกเราทั้งหลายควรจะซักซ้อมให้คล่องตัวไว้ เผื่อว่าถึงเวลาทุกขเวทนากำเริบกล้าขึ้นมา ถ้ากำเริบหนักถึงขนาดสามารถบีบคั้นสังขารร่างกายให้แตกดับได้ ถ้าเราไม่มีความคล่องตัวในเรื่องของสมาธิ เราอาจจะพลาดจากความดี เพราะจิตใจจะไปกังวลกับอาการทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

การฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญนั้น เราต้องฝึกซ้อมทั้งการเข้าสมาธิ การออกจากสมาธิ การเข้าสมาธิตามลำดับฌาน การเข้าสมาธิสลับไปมาระหว่างฌาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ชนิดที่แค่เสี้ยววินาทีก็ต้องเข้าสมาธิให้ได้ ถ้าทำจนคล่องตัวขนาดนั้นแล้ว สภาพจิตของเราจึงพอที่จะรับมือกับกิเลสได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เราก็มักจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นเสียก่อน

เมื่อเกิดความยินดีขึ้น ไฟราคะก็ครอบงำจิตใจของเรา ถ้าเกิดความยินร้ายขึ้น ไฟโทสะก็ครอบงำจิตใจของเรา ก็แปลว่าเราขาดทุนทั้งขึ้นทั้งล่อง จึงต้องซักซ้อมสมาธิให้คล่องตัว เมื่อถึงเวลาเกิดผัสสะ (การกระทบ) ขึ้น สมาธิจิตจะได้ป้องกันตนเองได้ทัน เหมือนกับคนที่ใส่เกราะอยู่ ย่อมเป็นอันตรายจากอาวุธได้น้อยกว่า ส่วนบุคคลที่ไม่ได้ใส่เกราะ ถ้าออกรบก็ย่อมเกิดอันตรายจากอาวุธได้มาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-01-2014 เมื่อ 18:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา