ดูแบบคำตอบเดียว
  #511  
เก่า 11-07-2020, 01:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เมื่อคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ได้แล้ว ก็ขีดเส้นกุสิและอัฑฒกุสิ ให้ได้ตามรูปโครงสร้างจีวร การขีดอัฑฒกุสิ หรือที่เรียกว่ากุสิขวางนั้น ก็ขีดเป็นเส้นคู่ขนานห่างกัน ๖ ซม. ให้ได้แนวตรงกันทุกขัณฑ์ โดยมากจะใช้วิธีพับสามส่วน แล้วขีดอัฑฒกุสิเข้าหากึ่งกลางของแต่ละขัณฑ์ หรือขีดออกไปทางด้านริมผ้าก็ได้ หรือใช้วิธีพับครึ่ง แล้ววัดจากกึ่งกลางแต่ละขัณฑ์ แบ่งให้ได้ระยะอัฑฒกุสิ.. ด้านบน ด้านล่าง สลับให้เท่า ๆ กัน ตามรูปโครงสร้างจีวรก็ได้ จากนั้นจึงลงมือตัดผ้าออกเป็น ๙ ชิ้น โดยต้องกำหนดหมายไว้ด้วยว่า ชิ้นไหนเป็นขัณฑ์ไหน เสร็จแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บ โดยเอาแต่ละขัณฑ์มาต่อกัน โดยเย็บแบบล้มตะเข็บหรือล้มดูก ซึ่งต้องมีความชำนาญไม่ใช่น้อย จึงจะเย็บได้สวยงาม

ส่วนความกว้าง (สูง) ของจีวร เมื่อตัดเย็บแต่ละขัณฑ์ต่อกันเสร็จแล้ว ก่อนเข้าอนุวาตก็ขึงเชือกตัดริมด้านบน และด้านล่าง ให้ได้ตามขนาดความกว้างมาตรฐานที่คำนวณไว้ โดยมากนิยมเว้าตรงขัณฑ์กลางเข้ามาประมาณ ๑ นิ้ว จากนั้นจึงเย็บเข้าอนุวาตก็สำเร็จเป็นจีวร ขั้นตอนสุดท้ายก็ติดรังดุมชายจีวร และติดรังดุมคอทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อให้นุ่งห่มสลับกันได้ทั้งสองด้าน ก็เป็นอันจบสิ้นขั้นตอนการเย็บที่สมบูรณ์

สำหรับการติดรังดุมคอทั้งด้านบน ด้านล่าง และห่มคลุมจีวรสลับกัน วันหนึ่งเอาด้านบนขึ้น อีกวันหนึ่งเอาด้านล่างขึ้น ก็เป็นปฏิปทาที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์มาในยุคปัจจุบัน เหตุผลก็คือ เมื่อห่มคลุมสลับกันทั้งสองด้าน ย่อมทำให้จีวรเปื่อยขาดพร้อมกันทั้งสองด้าน ไม่ใช่เปื่อยขาดอยู่เพียงด้านเดียว เป็นเหตุยืดอายุจีวรให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้นไปอีก ก็เป็นความจริงอย่างนั้น หากท่านผู้ใดเคยใช้จีวรจนถึงขั้นเปื่อยขาด และเย็บปะไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะเห็นความจริงในข้อนี้ และเกิดความซาบซึ้งอย่างถึงใจทีเดียว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
ภาวนามัย (เมื่อวานนี้), สุธรรม (11-07-2020)