ดูแบบคำตอบเดียว
  #509  
เก่า 11-07-2020, 00:46
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในลำดับนี้ ก็จักแสดงบริขารต่าง ๆ ที่นิยมทำกันในสายพระป่า พอให้เป็นแนวทางปฏิบัติโดยสังเขป และเป็นแบบอย่างแก่กุลบุตรผู้มาสุดท้ายภายหลังได้เรียนรู้ และสืบทอดปฏิปทาอันดีงาม ถูกต้องตามพระวินัย ดังต่อไปนี้

การกะ ตัด เย็บ ย้อม จีวร

จีวร เป็นบริขารที่สำคัญของพระที่จำเป็นต้องมี และต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย ด้วยสำหรับใช้นุ่งห่มปกปิดร่างกาย ประกอบด้วยผ้า ๓ ผืน เรียกว่าไตรจีวร ดังนี้

๑. สังฆาฏิ คือ ผ้าพาดหรือผ้าทาบไหล่ (สำหรับธรรมยุต ใช้ผ้า ๒ ชั้น)

๒. อุตราสงค์ คือ ผ้าสำหรับห่ม ที่เราเรียกว่า จีวร

๓. อันตรวาสก คือ ผ้านุ่ง ที่เรียกกันว่า สบง

สำหรับงานตัดเย็บจีวรนั้น ค่อนข้างเป็นงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรทีเดียว หากมิได้ตั้งใจศึกษา ฝึกหัดกันอย่างจริง ๆ จังแล้ว.. คงทำสำเร็จได้ยากมาก

เริ่มต้นจากการกะขนาดให้นุ่งห่มได้พอดีเสียก่อน ซึ่งก็มีมาตรฐานของแต่ละบุคคลดังนี้ ให้ผู้สวมใส่งอข้อศอกตั้งฉาก แล้ววัดจากส่วนปลายข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ว่ายาวเท่าไร

สมมติว่า ศอกยาว ๔๕ ซม.
ขนาดมาตรฐานของสบง คือ ยาว ๕ ศอก กับ ๑ คืบ (๑ คืบ = ๓๐ ซม.) จะได้ขนาดของสบง คือ ยาว (๔๕ x ๕) + ๓๐ = ๒๕๕ ซม. (คำว่า ศอกในที่นี้ คือความยาวศอกของผู้ใช้) ส่วนกว้างมาตรฐาน ๒ ศอก ก็จะได้ส่วนกว้าง คือ ๔๕ x ๒ = ๙๐ ซม.


ขนาดมาตรฐานของจีวร คือ ยาว ๖ ศอก กับ ๑ คืบ ก็จะได้ขนาดของจีวร คือ ยาว (๔๕ x ๖) + ๓๐ = ๓๐๐ ซม. ส่วนกว้าง (สูง) มาตรฐาน = ๔ ศอก กับ ๑/๒ คืบ (ครึ่งคืบ = ๑๕ ซม.) ก็จะได้ความกว้าง (สูง) ของจีวร = (๔๕ x ๔) + ๑๕ = ๑๙๕ ซม.

ส่วนสังฆาฏินั้น ใช้ขนาดเท่ากับจีวร โดยมากเมื่อตัดเย็บเสร็จแล้ว สังฆาฏิจะขนาดใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย เผื่อเวลาเดินไปบิณฑบาตต้องซ้อนจีวรเข้ากับสังฆาฏิแล้ว จีวรจะไม่เลยสังฆาฏิออกไป

ขนาดมาตรฐานคือ รูปร่างคนปกติ ไม่อ้วนใหญ่เกินไป หรือสูงเกินไป ถ้าคนอ้วนใหญ่จะต้องเพิ่มด้านยาวออกไปอีก ส่วนคนสูงก็ต้องเพิ่มด้านกว้าง (สูง) ให้มากขึ้น

เมื่อรู้จักขนาดมาตรฐานของจีวรดังนี้แล้ว จากนั้นจึงทำการคำนวณ หรือที่เรียกว่ากะขนาด โดยจีวรจะมีขนาดตั้งแต่ ๕, ๗, ๙ หรือ ๑๑ ขัณฑ์สูงสุด แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ จีวร ๙ ขัณฑ์เป็นมาตรฐาน

ดังนั้น หากจะตัดจีวร ๙ ขัณฑ์ ก็ต้องคำนวณให้ได้ว่า แต่ละขัณฑ์จะกว้างเท่าไร และยาวเท่าไร เมื่อเย็บเข้ากันเป็นจีวรแล้ว จะต้องได้จีวรขนาดที่นุ่งห่มได้พอดี

สำหรับการคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ ก็มีหลายวิธีแล้วแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน ขอให้ตัดเย็บออกมาแล้ว ได้ตามขนาดที่ต้องการก็เป็นอันใช้ได้ เมื่อคำนวณได้ขนาดของขัณฑ์จีวรเท่าไรแล้ว บวกเพิ่มเข้าไปอีกขัณฑ์ละ ๒ ซม. ก็จะเป็นขนาดขัณฑ์ของสังฆาฏิ เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ก็จะได้สังฆาฏิขนาดพอดีกับจีวร โดยมากสังฆาฎิจะใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา