ดูแบบคำตอบเดียว
  #54  
เก่า 17-07-2014, 14:34
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,488
ได้ให้อนุโมทนา: 151,147
ได้รับอนุโมทนา 4,405,354 ครั้ง ใน 34,077 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บุคคลพยายามที่จะเจริญภาวนาแล้วจิตสงบระดับหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่เคยได้ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ คือมีแล้วเสื่อม เกิดจากเหตุผลอะไรครับ ?
ตอบ : เพราะว่าไปปล่อยให้กิเลสท่วมทับใจตนเอง เมื่อกิเลสท่วมทับใจตนเอง สมาธิก็เสื่อม พอสมาธิเสื่อมจะทำใหม่เพื่อให้ได้เหมือนเดิม ก็ไปเกิดความอยากว่า เราอยากให้เป็นอย่างนั้น ในเมื่อเกิดความอยากขึ้นมา สภาพจิตฟุ้งซ่าน โอกาสที่จะสงบอย่างนั้นก็ไม่มี

ถาม : ในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เจริญสมาธิแล้วจิตสงบได้ระดับหนึ่ง แล้วหยุดไม่เจริญต่อ อีกหลายปีขณะที่อยู่ว่าง ๆ จิตสบาย ๆ ปรากฏนิมิตขึ้นมาซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างนี้เป็นเพราะกรรมเก่า หรือเป็นเพราะเขาคิดไปเอง หรือว่าเพราะอะไรครับ ?
ตอบ : เขาเรียกว่ากรรมนิมิต คือความดีความชั่วแสดงเหตุให้ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น กรรมนิมิตมักจะเกิดขึ้นขณะที่สภาพจิตสบาย ๆ อยู่ในลักษณะเหมือนอย่างกับอารมณ์ใจตอนนี้ของเรา ก็คือว่าไม่ตั้งใจมาก แต่ขณะเดียวกัน กำลังใจก็ทรงตัวกว่าปกตินิดหนึ่ง นิมิตเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นไปอยู่ตลอดเวลาหากว่าไปตรงร่องพอดี

ถาม : แล้วในขณะที่พยายามนั่งสมาธิกลับไม่เกิด แต่ช่วงที่เฉย ๆ ว่าง ๆ ปล่อยจิตเบา ๆ กลับเกิด ?
ตอบ : สมาธิสูงเกินอุปจารสมาธิก็ไม่เห็นอะไร ต่ำเกินไปก็ไม่เห็นอะไร ต้องพอดี ๆ ดังนั้น..เวลาเรานั่งสมาธิ ส่วนใหญ่กำลังเกินอุปจารสมาธิ เพราะอยู่กับองค์ภาวนา แต่ว่าขณะเดียวกัน ในอารมณ์ทั่ว ๆ ไปเราก็ปล่อยทิ้งเลย กลายเป็นต่ำกว่าอุปจารสมาธิ ต้องให้พอดี ๆ จึงจะเห็นได้ ซึ่งคนที่ทำตรงจุดนั้นแล้ว ต้องหัดสังเกตอารมณ์ใจ ถึงจะจำได้ว่าจุดพอดีของตัวเองคือตรงไหน ถ้าโดยทั่ว ๆ ไปก็ได้แต่บอกกันเฉย ๆ ว่า “ทำให้พอดี” แต่กว่าจะรู้ว่าพอดีอยู่ตรงไหน ก็ต้องคลำกันเป็นการใหญ่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-07-2014 เมื่อ 14:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 172 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา