ดูแบบคำตอบเดียว
  #72  
เก่า 11-09-2015, 19:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,723 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

บางคนเข้าไม่ถึงรากศัพท์ แล้วก็แปลแบบโบราณมา ทำให้คนสมัยใหม่ฟังไม่รู้เรื่อง อย่างเรือนมุงซีกเดียว สมัยนี้เด็กรู้จักหรือเปล่าว่าเพิงหมาแหงนหน้าตาเป็นอย่างไร ? คือหลังคาลาดลงเหมือนหมากำลังแหงนหน้าขึ้น สมัยนี้ก็มีกันสาดข้างหน้ามาอีกหน่อยหนึ่ง ส่วนเรือนหลังคาตัด ถ้าใครนึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงค่ายทหารสมัยโบราณ ก็แค่เอาไม้มาปักล้อมรอบ ๆ ไม่มีหลังคา

เหตุนี้นาน ๆ ไปถึงต้องมีบรรดาอาจารย์ต่าง ๆ มาอธิบายความเพิ่มเติม อาจารย์ที่อธิบายความในพระไตรปิฎกท่านเรียกว่า อรรถกถาจารย์ อาจารย์ที่อธิบายอรรถกถา เรียกว่า ฎีกาจารย์ อาจารย์ที่อธิบายฎีกาเรียกว่า อนุฎีกาจารย์ อาจารย์ที่อธิบายอนุฎีกาท่านเรียกว่า เกจิอาจารย์

คำว่า เกจิ แปลว่า ต่าง ๆ กันไป ก็คืออาจารย์หลาย ๆ สำนัก แต่สมัยนี้คำว่าเกจิอาจารย์ความหมายเปลี่ยนไป กลายเป็นผู้มีฌานสมาบัติ มีความขลังกว่าพระอื่น ๆ ความจริงตามรากศัพท์แล้วไม่ใช่เลย ความหมายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระไตรปิฎกต้องจารึกไว้เป็นภาษาบาลี เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่ตายแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลง กี่ปี ๆ คำนี้ก็ต้องแปลว่าอย่างนี้ ภุญฺชติ ก็ต้องแปลว่ากิน กตฺตวา ก็ต้องแปลว่าไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-09-2015 เมื่อ 02:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 188 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา