ดูแบบคำตอบเดียว
  #22  
เก่า 06-01-2010, 22:51
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,287 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สรุป.....
การนั่งสมาธิ เดินจงกรม ยืนเจริญสมาธิ นอนเจริญสมาธิ สรุปรวมทั้งหมดถูกควรทั้งสิ้น แยกทำไปตามความเหมาะสม เจริญสมาธิในท่าใดอิริยาบถไหนมีความเมื่อยล้า ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ให้ปรับเปลี่ยนทันทีอย่ารีรอชักช้า เพราะถ้าหากอัตภาพร่างกายไม่เป็นสุข จิตก็พลอยไม่เป็นสุข สมาธิจะย่อหย่อนหรือไม่มีสมาธิไปเลย แต่ก็หาใช่ว่าเปลี่ยนตามความพอใจง่าย ๆ เช่น นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนทั้งที่ยังไม่มีอุปสรรคขัดข้องเนื่องจากการนั่ง นอน ยืน เดิน เจริญสมาธิคือการกลั่นกรองหาสาระประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ในตัวเราเอง เพื่อเอาชนะกิเลสตัณหาอวิชชา ตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แนะสั่งสอนไว้ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้สืบทอดพระศาสนาก็นำมาถ่ายทอดอบรมแก่เราอีกต่อหนึ่ง

ความเหมาะสม.....
อย่าหักโหมเพราะมุ่งหวังให้เกิดคุณวิเศษขึ้นในตนเร่งด่วนเกินไป เพราะจะกลายเป็นว่า "สักแต่ว่าทำ" ฉะนั้นจะต้องไม่ร้อนรน ไม่มุ่งหมายว่าจะได้อะไร เพราะการมุ่งหวัง มาดหมาย จะไม่ได้อะไรเลยสักนิดเดียว
ดูสภาพธาตุขันธ์ตนเองว่าสมบุกสมบันได้เช่นผู้อื่นหรือเปล่า ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง คือเป็นผู้เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นผู้สุขภาพอ่อนแอ การนอนเจริญสมาธิให้มากกว่าการนั่ง ยืน เดิน เจริญสมาธิ จะมีผลดีเพียงส่วนเดียวไม่มีผลเสีย
สำหรับผู้สุขภาพร่างกายแข็งแกร่ง สามารถบุกบั่นกับงานเจริญภาวนาครบทุกอิริยาบถ อย่าเบื่อหน่ายรำคาญ ให้เจริญสมาธิเสมอกัน ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน หรือสุดแท้แต่สภาวะในขณะนั้นจะบอกให้ทราบเองโดยอัตโนมัติ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 07-01-2010 เมื่อ 22:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา