ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #25  
เก่า 24-03-2009, 09:09
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

งานประดับมุก

งานช่างประดับมุก จัดเป็นงานประณีตศิลปหรืองานมัณฑนาศิลปประเภทหนึ่งที่ทำสำเร็จขึ้นด้วยกระบวนการ ช่างประดับมุก ซึ่งเรียกตามๆ กันมาว่า "เครื่องประดับมุก" หรือ "เครื่องมุก" ที่ทำขึ้นด้วยเปลือกหอยทะเลชนิดหนึ่ง เรียกกันตามภาษาช่างว่า "หอยมุก" นำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นย่อยแล้วโกรกทำให้เป็นลวดลายแบบต่างๆ นำมาประดับ ติดลงบนพื้นผิวภายนอกของ "ศิลปภัณฑ์" อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตกแต่ง "ศิลปภัณฑ์" นั้นให้เกิดมีศิลปลักษณะ งามพร้อมไปด้วยกระบวนลวดลายแบบต่างๆ และสีสันของผิวชิ้นหอยมุกที่ได้รับการประดับตกแต่งขึ้นไว้นั้น


งานช่างประดับมุกก็ดี ความนิยมที่มีต่องานประดับมุกก็ดี ย่อมเนื่องมาจากผู้คนแต่ก่อนเห็นสำคัญแล้วจัดการ สร้างทำขึ้น จึงเกิดมีงานเครื่องประดับมุก และกระบวนการช่างประดับมุกเป็นขนบนิยมขึ้นในวงการช่างสิบหมู่สมัย หนึ่ง เป็นที่ยอมรับและนิยมกันในภายหลัง และได้รับการผดุงรักษาสร้างสรรค์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาดหาย
การช่างประดับมุก จึงเป็นงานช่างที่จะต้องดำเนินงานร่วมกันด้วยช่างเขียนลาย ช่างตัดและโกรกชิ้นมุก ช่างรัก และช่างประดับมุกที่มีฝีไม้ลายมือทัดเทียมกัน จึงจะสร้างงานเครื่องประดับมุกสำเร็จเป็นงานดี มีคุณภาพ และคุณค่าพร้อม ดังนี้ งานเครื่องประดับมุก จึงเป็นงานประณีตศิลปหรืองานมัณฑนศิลป ที่ประมวลทั้งฝีมือและ ความสามารถของช่างสิบหมู่หลายช่างอยู่ด้วยกัน

มุก หอยมุก

"มุก" หรือ "หอยมุก" เป็นชื่อหอยทะเล เปลือกของหอยมุกเป็นวัสดุดิบตามธรรมชาติ จัดเป็นวัสดุปัจจัยสำคัญ สำหรับงานประดับมุก
หอยมุก หรือเปลือกหอยมุกชนิดที่ช่างประดับมุกนำมาใช้สำหรับงานประดับมุก เป็นหอยมุกชนิดที่มีชื่อเรียก เฉพาะว่า Marbled Turban หรืออย่างที่ชาวทะเลเรียกว่า "หอยอูด" แต่ในบรรดาช่างประดับมุกมักเรียกหอยมุกชนิด นี้ว่า "มุกไฟ" ทั้งนี้เนื่องด้วยผิวของเปลือกหอยชั้นในสุด เป็นสีขาวนวลมันวาว เมื่อรับแสงสว่างหรือแสงไฟจะเป็น ประกายออกเป็นสีต่างๆ ล้อแสงไฟ



วัสดุที่เป็นปัจจัยสำหรับงานประดับมุก นอกจากมุกหรือหอยมุกแล้ว ยังมีวัสดุที่เป็นส่วนประกอบร่วมในงาน ประดับมุกดังต่อไปนี้
รักน้ำเกลี้ยง
รักเช็ด
สมุก
ฝุ่นถ่านเขากวาง
ผงกระเบื้องดินเผา
งานประดับมุก เป็นงานช่างฝีมือชั้นสูง ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆ ช่วยในการทำงาน ประกอบด้วย
ตะไบ มี ตะไบแบน ตะไบท้องปลิง ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบหางหนู ตะไบรูปคมมีด
คันเลื่อยโกรก และใบเลื่อย
ปากกามือ
ปากคีบ
แปรงทองเหลือง
กระดานสำหรับผสมและทาสมุก
ม้าไม้สำหรับงานโกรกชิ้นมุก
งานประดับมุกมีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างโบราณวิธี คือ



การเตรียมเปลือกหอยมุก

ขั้นตอนการปอกเปลือกหอยชั้นนอกออกจนถึงชั้นในที่ต้องการ
เปลือกหอยมุกที่จะใช้สำหรับงานประดับมุก มักใช้เปลือกตอนที่อยู่ถัดจากปากเปลือกหอยมุกขึ้นไปประมาณ ๔-๖ นิ้ว เปลือกส่วนนี้ไม่สู้หนาและมีเนื้อที่กว้างกว่าตอนที่เลยขึ้นไป ช่างประดับมุกจะใช้เลื่อยตัดแบ่งเปลือกหอยส่วน นี้ออกจากหอยมุกแต่ละตัว เปลือกหอยที่ตัดออกมานี้มีลักษณะโค้งคล้ายกาลกล้วย และโอนเป็นกระพุ้งตามลักษณะ ตัวหอย จึงต้องตัดเปลือกหอยนั้นๆ ออกเป็นชิ้นย่อยๆ เพื่อลดลักษณะที่เป็นกระพุ้งนูนบนหลังเปลือกหอยให้มากที่สุด
ชิ้นเปลือกหอยมุกที่ได้รับการตัดแบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ แล้ว ต้องนำมา "ถา" ด้วยตะไบหน้าแบนแต่งหน้าชิ้น เปลือกหอยให้แบนราบ และให้ได้ขนาดความหนาหรือบางเสมอกันทุกๆ ชิ้น แล้วจัดการชะล้างทำความสะอาดชิ้นมุก ที่ได้ทำการขั้นนี้ทั้งหมด ผึ่งให้แห้งเตรียมไว้สำหรับการตัดทำเป็นลวดลายต่อไป

การเขียนลวดลายประดับมุก

งานประดับมุก เริ่มต้นขึ้นจากการ "ผูกเขียนลวดลาย" หรือ การออกแบบเป็นลวดลาย ที่จะได้ใช้เป็นแบบ สำหรับตัดชิ้นมุกให้เป็นตัวลายต่างๆ และเป็นแบบสำหรับประดับชิ้นลวดลายมุกแต่ละชิ้นๆ เป็นลวดลายประดับมุกให้ เป็นไปตามความประสงค์ดังที่ผูกเขียน หรือออกแบบลวดลายนั้นๆ ขึ้นไว้แต่แรก
การผูกเขียนลวดลายสำหรับงานประดับมุกนี้ มักเขียนลวดลายให้มีช่องไฟ หรือทิ้งพื้นที่ระหว่าง ตัวลาย ช่อลาย และเถาให้ห่างพอสมควร เพื่อประสงค์ให้เห็นลวดลายกระจะเด่นงามด้วยประกายความเลื่อมมันบนพื้นสีดำ หากผูกเขียนลวดลายทิ้งพื้น หรือช่องไฟถี่หรือติดกันมากตัวลายชิดกันเกินไปประกายเลื่อมมันของชิ้นมุกทอแข่งกัน ทำให้ไม่เห็นลวดลายชัดเจน หรือพร่างพราวพร่าความงามให้เสียไป
ลวดลายประดับมุกนี้ต้องจัดทำเป็น ๒ แผ่น แผ่นแรกเป็นต้นร่างลวดลายหรือรูปภาพที่จะทำการประดับมุกให้ เป็นตามต้นร่าง แผ่นที่สองเป็นต้นร่างลวดลายที่ลอกแบบจากต้นร่างแผ่นแรกแต่ทำนทางกลับกัน หรือตรงกันข้าม กับลวดบายต้นร่างแผ่นแรก

การตัดลวดลาย

การตัดลวดลาย เป็นงานขั้นที่สองของงานประดับมุก ช่างประดับมุกจะนำเอาชิ้นมุกที่ได้เตรียมทำเป็นชิ้น แบนๆ ขึ้นไว้แต่ต้นนำมาปิดกระดาษแบบลาย แล้วจึงตัดทำให้เป็นลวดและลายตามแบบที่ได้ผูกเขียนขึ้นไว้ให้ครบ ทุกตัว จึงปิดชิ้นมุกลงบนกระดาษแผ่นที่ ๒

การเตรียมพื้นสำหรับงานประดับมุก

งานประดับมุก อาจทำขึ้นบนพื้นกระด้างชนิดต่างๆ เช่น พื้นไม้ พื้นโลหะ พื้นดินเผา แต่จะต้องจัดการเตรียม พื้นซึ่งจะประดับตกแต่งด้วยการลงสมุกให้เหมาะสมเสียก่อน

การประดับมุก

งานประดับมุกในขั้นตอนนี้ คือนำเอากระดาษต้นร่างแผ่นที่ ๒ ที่ได้ปิดชิ้นลายลายมุกเตรียมไว้เรียบร้อยมาปิด ทับลงบนพื้นที่ได้ทำรักสมุกเตรียมไว้
การปิดกระดาษต้นร่างเพื่อประดับมุกลง ทำด้วยการจับแผ่นกระดาษต้นร่างคว่ำหน้าลงแล้วค่อยวางทาบปิด ลงบนพื้นที่ลงรักสมุก ต้องจับกระดาษให้ตึงวางลงให้พอดีกับขนาดของพื้นที่ ระวังอย่าให้กระดาษย่น ร่น หรือ ขาดเสียก่อน พอทาบกระดาษปิดลงสนิทแล้วจึงใช้ไม้ซางทาบลงบนหลังแผ่นกระดาษกลิ้งไม้ซางกวดกระดาษให้ แนบสนิท และกดชิ้นลวดลายมุกให้จมติดกับรักสมุก โดยกลิ้งคลึงไม้ซางกวดไปให้ทั่วพื้นหลังทั้งหมดแผ่นกระดาษ ต้นร่างนั้น จึงปล่อยพื้นที่ปิดกระดาษทิ้งไว้สัก ๒-๓ วันเพื่อให้รักสมุกแห้งและจับชิ้นลวดลายมุกติดแน่นอยู่กับพื้น จึงลอกกระดาษออก แล้วถมรักในพื้นให้เต็มเสมอหน้าลวดลายมุก

การขัดและเก็บเงา

เป็นขั้นตอนภายหลังถมรักเรียบร้อยแล้ว จึงทำการขัดให้ลายมุกผุดขึ้นชัดเจนทั้งหมดและเก็บเงางานประดับ มุก
การเก็บเงา เป็นงานขั้นท้ายสุดของการประดับมุก ทำโดยนำเอารักเช็ดมาเช็ดทับสัก ๒-๓ ทับ ผิวงานประดับ มุกก็จะขึ้นมันเป็นเงางาม
อนึ่ง การเช็ดรักเก็บเงานี้ หากได้ทำหลายๆ ทับก็จะยิ่งเป็นมันและเงาลึกยิ่งขึ้น แต่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นตาม คุณภาพของานที่ต้องการ
การช่างประดับมุกที่เป็นงานประณีตศิลป ตกแต่งสิ่งที่เป็นศิลปกรรมต่างๆ มีตัวอย่างเช่น
งานประดับมุก บานประตู บานหน้าต่างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมณฑป
งานประดับมุก ฝาหีบ ฝาตู้หนังสือ ใบประกับหน้าคัมภีร์
งานประดับมุก ม้าหมู่ พระแท่น ราชบัลลังก์ พระแท่นที่บรรทม ฉาก ลับแล
งานประดับมุก หีบหมาก ถ้ำ ยาดม ฝักดาบ กระดุมเสื้อ
งานประดับมุก หีบศพ เป็นต้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)