ชื่อกระทู้: ธงกฐิน
ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 21-07-2009, 13:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,059 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default ธงกฐิน

เมื่อวันเสาร์ตอนต้นเดือน มีคนนำธงกฐินรูปจระเข้มา หลังจากนั้นหลวงพ่อก็เล่าชาดกให้ฟังว่า

"มีเศรษฐีขี้เหนียวคนหนึ่ง ตายแล้วไปเกิดเป็นจระเข้ ว่ายวนเวียนอยู่ท่าน้ำบ้านตัวเอง ความขี้เหนียวของแกเลื่องลือ เขาว่าขี้เหนียวถึงขนาด "กินข้าวเช้า กินเอาตอนเพล บางทีข้าวเย็น ก็เว้นไม่กิน ทนอดทนอยาก ลำบากเสียเปล่า เมียบ่นหิวข้าว ผัวเฒ่าตีดิ้น กลัวยากกลัวจน ยอมทนอมลิ้น เมียกลัวเหงื่อริน ก็เลยเป็นลม" ท้ายสุุดเศรษฐีตายไปทั้ง ๆ ที่อดอยาก กลายเป็นจระเข้วนเวียนอยู่แถวนั้น ไปไกลก็ไม่ได้ เพราะใจที่ผูกอยู่กับทรัพย์สินดึงเอาไว้

ด้วยความที่ดวงจิตดิ้นรนอยากจะไปเกิด ก็เลยไปเข้าฝันภรรยาตัวเอง บอกภรรยาให้ไปขุดสมบัติที่หัวสะพานขึ้นมาทำบุญ แกจะได้ไปเกิดที่อื่นได้ ภรรยาและลูกก็เลยไปช่วยกันขุดมา เมื่อขุดมาได้แล้วก็ตั้งใจที่จะทำบุญกฐินให้ จึงไปจองกฐิน พอดีมีวัดที่ยังไม่มีคนจองเป็นเจ้าภาพกฐิน ถึงเวลาก็แห่เครื่องกฐินไปทางเรือ จระเข้ก็พยายามว่ายน้ำตาม ว่ายไป ๆ ก็หมดแรงไปไม่ไหว อาจจะเป็นเพราะเฝ้าสมบัติมานาน อายุมากแล้ว ก็เลยบอกกับภรรยาและลูกว่า ให้วาดรูปตน (จระเข้) เอาไว้ในกองกฐิน เหมือนกับว่าตัวเองไปด้วย หลังจากนั้นจระเข้ก็สิ้นใจตาย

ดังนั้น รูปจระเข้ก็เลยเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ถ้าวัดไหนมีธงมัจฉาหรือธงจระเข้อยู่ ก็รู้ว่าวัดนั้นมีคนจองเป็นเจ้าภาพกฐินแล้วหรือได้รับกฐินแล้ว เขาก็จะไปหาวัดที่ไม่มี


แต่ว่าพอมารุ่นหลังก็เกิดความเพี้ยนไป ความเพี้ยนที่ว่าก็คือเนื้อหาเปลี่ยน คนไปเข้าใจว่าเป็นปริศนาธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านกล่าวถึงภัยของภิกษุใหม่

ท่านบอกว่าภัยของภิกษุใหม่ ประกอบด้วย วังวน ๑ คลื่นลม ๑ จระเข้ ๑ ปลาร้าย ๑ ที่จะทำให้ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ได้ ท่านบอกวังวนคือกามคุณ ๕ ความยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คลื่นลมก็คือคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ถ้าทนคำสั่งสอนไม่ได้ก็เหมือนกับเรือที่ล่มลงกลางทะเลวัฏสงสาร จระเข้คือความเห็นแก่กิน เห็นแก่นอน ไม่ปฏิบัติธรรม ปลาร้ายหมายถึงเพศตรงข้าม ที่จะมาเอาไปกินเสียก่อนที่จะบรรลุมรรคผล เขาก็เลยสร้างรูปนางมัจฉาขึ้น

นางมัจฉาเป็นตัวแทนของปลาร้าย ในขณะเดียวกันบางทีก็มีรูปคลื่นอยู่ข้างล่าง บางทีก็มีน้ำวนอยู่ด้วย เมื่อรวม ๆ กันแล้วก็คือให้ตรงกับภัยของภิกษุใหม่ จริง ๆ แล้ว พระจะใหม่จะเก่าเจอเข้าก็เดี้ยงเหมือนกัน สำคัญตรงที่ว่ามีสติสัมปชัญญะที่จะต่อสู้สักแค่ไหน

เรื่องของธงกฐินตอนแรกเกิดจากชาดกเศรษฐีขี้เหนียว พอตอนหลังเนื้อหาเพี้ยนไป คนตีความผิดก็เลยมีธงนางมัจฉาเพิ่มขึ้นมา

มาระยะหลัง ๆ ก็มีครูบาอาจารย์เอามาลงอักขระ เลขยันต์คาถาอาคม เอาไว้สำหรับการค้าขาย เพราะฉะนั้น..สมัยหลัง ๆ ธงกฐินไม่ค่อยได้อยู่ติดวัดหรอก ทอดกฐินเสร็จเขาก็ล้มเสาเอาไปเลย เอาไปให้หลวงปู่หลวงพ่อท่านเจิม เจิมเสร็จก็เอาไปติดบ้านให้ค้าขายดี"


เทศน์ที่บ้านอนุสาวรีย์
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-10-2014 เมื่อ 07:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา