ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 19-08-2010, 10:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,640 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พอมาถึงยุคสมัยของเรา หลักสูตรต่าง ๆ ก็ยังเป็นหลักสูตรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วางรูปแบบมา ยังเรียนเหมือนเดิมทุกประการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย การเรียนก็ยากขึ้น ที่ยากขึ้นเพราะว่าคนเราในปัจจุบันความอดทนมีน้อย

ประการที่สอง สมาธิสั้น ประการที่สาม หลักสูตรค้านกับหลักการศึกษาปัจจุบันทั่วไป ปกติอย่างหลักสูตรทั่ว ๆ ไป พอทำข้อสอบ อาจารย์เขาจะตรวจว่าถูกเท่าไร แล้วก็ให้คะแนน แต่ของบาลีเขาตรวจว่าผิดเท่าไร ถ้าผิดครบ ๑๒ แห่ง ต่อให้ที่เหลือถูกหมดก็ตกแล้ว

ฉะนั้น..บาลีมีโอกาสผิดได้ไม่เกิน ๑๒ คำ ตีเสียว่าส่วนอื่นได้คะแนนเต็ม ก็แปลว่าต่อให้ได้คะแนน ๘๘ เต็ม ๑๐๐ แต่ก็ต้องตก เพราะฉะนั้น..หลักการบาลีก็เลยสวนทางกับทางโลก

ผู้ที่จบประโยค ๙ ในปัจจุบันก็เลยกลายเป็นอะไรที่ประหลาด ๆ อยู่หน่อย คือ เรื่องที่ไม่น่าทำได้ เขาก็ทำได้ ความจริงแล้วถ้าเป็นความเห็นของอาตมา ปริยัติในปัจจุบันควรจะปรับปรุงได้แล้ว ปรับในลักษณะที่ว่า ใครเรียนนักธรรมตรีก็ให้เรียนควบประโยค ๑-๒ ไปเลย เรียนนักธรรมโทก็ประโยค ๓ , ๔ , ๕ ควบไป เรียนในลักษณะเก็บสะสมคะแนนแบบหน่วยกิต

เรียนแล้วทิ้งไปเลย ท่านใดก็ตามที่ต้องการใช้งานในส่วนของปริยัติเกี่ยวกับการแปลจริง ๆ ให้ไปเรียนเป็นการเฉพาะ ชำนาญเป็นการเฉพาะทางไป แล้วการเรียนบาลีจะง่ายขึ้น ง่ายขึ้นเพราะเก็บสะสมหน่วยกิตได้ เพราะว่าการเรียนนั้น ส่วนใหญ่ก็เรียนเพียงเพื่อรู้ว่ามีอะไรบ้าง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา