ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 18-08-2010, 07:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,668 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การศึกษาเล่าเรียนในพระพุทธศาสนา ที่บอกว่าเราต้องทำให้เกิดผลนั้น จริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็นสามอย่างก็ได้ แบ่งออกเป็นสองอย่างก็ได้ ถ้าแบ่งออกเป็นสองก็คือ คันถธุระกับวิปัสสนาธุระ ถ้าแบ่งออกเป็นสามก็คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ในส่วนของคันถธุระ เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน เกี่ยวกับหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบูรณะซ่อมสร้าง ทำการสงเคราะห์ญาติโยมในด้านอื่น ๆ ในเรื่องของวิปัสสนาธุระ ก็คือ ปฏิบัติให้เกิดผล แล้วนำเอาไปสั่งสอนญาติโยมเขา

ในส่วนของปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการทรงจำเพื่อที่จะสืบทอดเนื้อหาที่ถูกต้องต่อ ๆ ไป ถามว่ามีความสำคัญไหม ? มีความสำคัญมาก เพราะถ้าขาดหลักปริยัติ นักปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลที่ไหนมาใช้ในการปฏิบัติ

ส่วนในการปฏิบัตินั้น ต้องทุ่มเท ลงไม้ลงมือทำเลย จนกระทั่งเกิดผลขึ้นมา สิ่งใดที่ข้องขัดก็ไปสอบทานกับปริยัติ เพราะฉะนั้น..จริง ๆ แล้ว ปริยัติกับปฏิบัติต้องไปด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้

ตั้งแต่มีประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนของเรา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาลงมา ถึงธนบุรี รัตนโกสินทร์ ทางการศึกษาของพระเรานั้น ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติคู่กันมาตลอด เพิ่งจะมาโดนแยกออกจากกัน ตอนที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำหนดหลักสูตรนักธรรมบาลีออกมา ก็เลยแยกออกมาว่านี่เป็นส่วนที่ต้องศึกษา ก็คือ ปริยัติล้วน ๆ ในส่วนของปฏิบัติ ใช้คำว่าแล้วแต่ศรัทธา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการปฏิบัติก็เริ่มตกต่ำ แรก ๆ ก็ยังไม่ตกต่ำชัดเจนนัก เพราะหลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถ ยังมีเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ในส่วนที่ตกต่ำชัดเจนก็คือ บรรดาผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนปริยัติ ทั้งนักธรรมและบาลี จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นฝ่ายปกครอง

คนที่อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมียศมีตำแหน่ง จึงต้องดิ้นรนศึกษาให้จบนักธรรมชั้นเอก ให้จบเปรียญเก้าประโยค เพื่อที่จะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งในการปกครอง จึงทิ้งการปฏิบัติไปหมด ทุ่มเทให้กับปริยัติอย่างเดียว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา