ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 23-10-2012, 20:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,450
ได้รับอนุโมทนา 4,406,020 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นิวรณ์ข้อที่ ๒ ก็คือ ความพยาบาท ได้แก่ การโกรธ เกลียด อาฆาตแค้นผู้อื่น ปุถุชนทั่วไปโกรธได้เกลียดได้..ไม่เป็นไร แต่อย่าไปผูกอาฆาต การที่เราไปผูกใจอาฆาต ทำให้เป็นการต่อความยาวสาวความยืดไม่รู้จักแล้วจักเลิก เมื่อจะภาวนาทีไร สภาพจิตก็ไปนึกถึงคนที่เราเกลียด คนที่เราโกรธ แล้วส่วนใหญ่ก็อยากจะให้เกิดความย่อยยับต่าง ๆ แก่เขา ซึ่งจัดเป็นนิวรณ์ใหญ่ ขวางกั้นเราจากความดี

นิวรณ์ตัวต่อไป คือ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจปฏิบัติ ถ้ากำลังใจของท่านทรงฌานไม่ได้ นิวรณ์ตัวนี้จะแทรกเข้ามาทุกครั้ง แต่ถ้าท่านสามารถทรงฌานได้คล่องตัว นิวรณ์ตัวนี้จะหายไปเลย ไม่มารบกวนอีก นึกจะภาวนาเมื่อไรกำลังใจของเราก็วิ่งเข้าสู่ระดับฌาน เป็นการก้าวข้ามนิวรณ์นี้ไป

นิวรณ์ตัวต่อไป ก็คือ อุทธัจจะกุกกุจจะ อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน กุกกุจจะ คือ ความเดือดร้อนรำคาญใจ เมื่อจิตฟุ้งซ่านไม่รวมตัว ก็ทำให้เราหงุดหงิด เดือดร้อนรำคาญ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเข้ามาในจิตในใจของเราเป็นปกติ เพื่อฉุดรั้งไม่ให้เราหนีห่าง ไม่ให้เราหลุดพ้น

นิวรณ์ตัวสุดท้าย คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เช่น สงสัยในความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยว่าการปฏิบัตินี้จะมีผลอย่างไร ? สงสัยว่าปฏิบัติความดีแล้วจะดีจริงหรือไม่ ? สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากีดขวางเราอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่ต้องการให้เราหลุดพ้น

ถ้าสภาพจิตของเราก้าวพ้นไปเมื่อไร นิวรณ์ทั้งหลายเท่ากับต้องตายไปเลยทีเดียว ต่อให้ยังมีอยู่ครบ ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายใด ๆ แก่เราได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-10-2012 เมื่อ 02:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา