ดูแบบคำตอบเดียว
  #99  
เก่า 23-03-2015, 15:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,171 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เวลาให้พร พระท่านจะบอกว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ หรือ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง การลำดับความสำคัญเป็นอย่างนั้นเลยหรือไม่ครับ คืออายุสำคัญมาก พละสำคัญน้อยที่สุด ?
ตอบ : ที่ว่ามานั้นคิดฟุ้งซ่านจนเกินไป เพียงแต่ว่า ๔ สิ่งนั้นเป็นของที่คนสมัยโบราณต้องการทั้งสิ้น อายุ คือความเป็นผู้มีอายุยืนใคร ๆ ก็ต้องการ วรรณะ ในที่นี้หมายถึงชาติตระกูล ไม่ใช่ผิวพรรณที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เขาแปลกัน ถ้าหากว่าเป็นคนไม่มีวรรณะคือจัณฑาล เป็นคนกาลกิณีที่ไม่มีใครคบหาด้วย ดังนั้น..คำให้พรที่ว่า วรรณะหรือวัณณัง ในที่นี้หมายถึงชาติตระกูลของตนเอง

สุขะ ขอให้มีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการจะมี พะลัง ขอให้มีกำลัง ไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย กำลังใจก็ตาม เมื่อมีแล้วก็สามารถที่จะทำมาหากิน หรือว่ากระทำในสิ่งที่ตนมุ่งหวังเอาไว้จนสำเร็จได้ ดังนั้น..สิ่งทั้ง ๔ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่คนสมัยนั้นต้องการทั้งสิ้น เวลาท่านให้พรถึงได้บอกว่า “อายุ วัณโณ สุขขัง พะลัง” แต่ไม่ได้เป็นการเรียงลำดับความสำคัญ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าสำคัญทั้งนั้น

เราไม่ได้อยู่อินเดียไม่รู้หรอกว่าบรรดาจัณฑาลที่ไม่มีวรรณะเป็นสิ่งที่ต่ำต้อยด้อยค่า โดนคนเหยียดหยามขนาดไหน ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ถือว่าเป็นบิดาของพุทธศาสนาสมัยใหม่ของอินเดีย ท่านเป็นจัณฑาล ไปเรียนหนังสือต้องไปปูกระสอบนั่งอยู่มุมห้องข้างหลัง เพราะไม่มีใครยอมให้นั่งด้วย เวลาเดินไปเพื่อเขียนกระดานดำ เพื่อนจะวิ่งกรูกันฉวยปิ่นโตที่วางอยู่ข้างกระดานดำหนีไปที่อื่น เพราะกลัวว่ากาลกิณีจะไปติดในอาหารเขา จนกระทั่งอาจารย์ที่สอนสงสาร เลยให้ใช้นามสกุลของท่าน

ในเมื่อมีนามสกุลเอ็มเบ็ดการ์ก็เลยกลายเป็นคนมีวรรณะ ถ้าไม่มีคนที่รู้ถึงรากเหง้าของตนเองจริง ๆ ก็ไม่มีใครรู้ว่าคนนี้เป็นจัณฑาลมาก่อน แล้วอาจารย์ท่านก็ช่วยขอทุนจนท่านได้ไปเรียนต่างประเทศ จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกมา ๑๗-๑๘ สาขา เรียนเพราะต้องการจะดิ้นรนให้พ้นจากวรรณะที่ผูกรัดตัวเองไว้ จนกระทั่งตอนหลังกลับไป ท่านเยาวหราล เนรูห์ ตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ช่วยร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของอินเดีย แล้วในรัฐธรรมนูญใหม่ก็กำหนดว่าไม่มีการแบ่งแยกวรรณะ แต่ก็กำหนดได้แค่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ในความเป็นจริงทุกวันนี้ก็ยังแบ่งแยกวรรณะกันอยู่

พระสงฆ์เราเวลาไปอินเดีย เขาจะมองด้วยความหวาดระแวง ว่าเป็นพวกจัณฑาลหรือเปล่าเพราะว่าโกนหัว แต่ท่านอาจารย์ ดร.วศิน กาญจนวณิชย์กุล ไปเรียนที่อินเดียเพื่อนไม่รังเกียจ ถามว่าทำไมไม่รังเกียจ ท่านบอกว่า “เขาเห็นผมเป็นวรรณะแพศย์ ก็คือพ่อค้า เพราะนามสกุลผมมีคำว่า วณิชย์” เขาดูนามสกุลแล้วรู้ แต่เขาไม่รู้ว่าบ้านเราตั้งกันส่งเดช
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2015 เมื่อ 17:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 160 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา