ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 27-12-2013, 09:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,171 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเราเองก็กลัวภัย แต่กลัวอย่างมีสติ เราก็ต้องเร่งรัดการปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย ในเบื้องต้นก็ต้องทบทวนศีลทุกสิกขาบทให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อศีลของเราสมบูรณ์แล้ว ก็ดูต่อไปว่า เรายุยงส่งเสริมให้คนอื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? เมื่อเรารักษาศีลสมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นละเมิดศีล เมื่อเห็นคนอื่นละเมิดศีลเรามีความยินดีอยู่หรือไม่ ? การที่เราเอาสติจดจ่อระมัดระวัง ไม่ให้ศีลของเราบกพร่อง สมาธิก็จะค่อย ๆ ทรงตัวขึ้นมา เรียกง่าย ๆ ว่าศีลเป็นเครื่องหนุนเสริมให้เกิดสมาธิ

เมื่อสมาธิทรงตัวขึ้นมา ถ้าเราไม่ได้นำไปใช้งาน ก็จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ คือไปสนับสนุนกำลังของรัก โลภ โกรธ หลง แทน คราวนี้ก็จะรัก โลภ โกรธ หลงไปใหญ่โต ห้ามไม่อยู่ หยุดไม่ได้ เพราะเราไปเสริมกำลังให้เขาเสียแล้ว ดังนั้น..นักปฏิบัติเมื่อภาวนาไปแล้ว เกิดความรู้สึกว่าทำไมรัก โลภ โกรธ หลง มีแต่มากขึ้น ๆ ก็ต้องดูให้ชัดว่าเกิดจากการที่เราภาวนาแล้วไม่ได้เอากำลังไปพิจารณา ปล่อยให้กำลังของรัก โลภ โกรธ หลงดึงเอากำลังในการภาวนาไปใช้งาน หรือว่าสภาพจิตของเราละเอียดมากขึ้นทำให้เห็นรัก โลภ โกรธ หลงต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น แล้วรู้สึกว่ามีมากขึ้นกันแน่

ถ้าเป็นประการหลังก็ถือว่าการปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้น ถ้าเป็นประการแรกให้รู้ว่าเราแย่แล้ว เพราะเท่ากับเราไปเลี้ยงเสือให้กัดตัวเอง ดังนั้น..เมื่อภาวนาจนสมาธิทรงตัวแล้ว ก็ควรที่จะพิจารณาโดยเฉพาะการพิจารณาวิปัสสนาตามแนวของไตรลักษณ์ คือทุกอย่างเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ระหว่างที่ดำรงคงอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์เป็นปกติ ท้ายสุดก็ไม่มีอะไรสามารถยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ เพราะว่าพังสลายไปหมด

ในเมื่อทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เราจะมัวแต่เวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์เช่นคนอื่น ๆ เขาก็นับว่าเรามีปัญญาน้อยมาก ถ้าเราเห็นทางหลุดพ้นแล้วมีทางเดียวก็คือพยายามที่จะตะเกียกตะกายไปให้เร็วที่สุด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-12-2013 เมื่อ 11:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา