ดูแบบคำตอบเดียว
  #31  
เก่า 07-07-2010, 21:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,069
ได้รับอนุโมทนา 4,399,743 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ผมไปบวชและลองไปปฏิบัติแบบสายพระป่าครับ เราต้องทำสมาธิแบบไหนจึงจะพอ เพราะผมเคยศึกษาสายหลวงพ่อฤๅษี ท่านบอกว่าเอาเฉพาะเท่าที่เราทำได้ แต่พอไปอีกทางหนึ่ง เวลาที่ปวดขาหรือเวทนารบกวน ท่านบอกว่า แค่ตอนนั่งสมาธิเราปวดขา เราก็ยังทนไม่ได้ แล้วตอนที่เราจะตายแล้วเวทนามารบกวน เราสามารถที่จะพ้นได้หรือ ? อย่างไรจึงจะเรียกว่าพอดีสำหรับเราครับ ?
ตอบ : เราอยากทนไหมละ ?

ถาม : ไม่อยากทนครับ ?
ตอบ : ถ้าอยากทนก็ไปฝึกอย่างนั้นต่อ ถ้าไม่อยากทนก็ไปฝึกอย่างหลวงพ่อฤๅษี

ถาม : ปลายทางเหมือนกันใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ไม่ค่อยเหมือน การศึกษาปฏิบัติมี ๔ แนวทางด้วยกัน ก็คือ ปฏิบัติยากบรรลุยาก ปฏิบัติยากบรรลุง่าย ปฏิบัติง่ายบรรลุง่าย ปฏิบัติง่ายบรรลุยาก

ถาม : ปฏิบัติง่ายบรรลุง่ายใช้แนวทางไหนครับ ?
ตอบ : ใช้สมาธิสูงสุดที่เราทำได้ ฌานสี่หรือสมาบัติแปดยิ่งดี กดกิเลสเอาไว้ก่อน แล้วบีบคอให้กิเลสตายไปเลย

ถาม : บีบคอให้ตาย ?
ตอบ : กิเลสกับเราหน้าตาเหมือนกันทุกอย่างเลย พอบีบคอเข้าก็ชักดิ้นจะเป็นจะตาย แล้วคิดว่าเป็นตัวเราเองที่จะตาย เราก็มักจะไปรามือให้ทุกที พอเห็นว่าทำหน้าตาเหมือนเราเข้าหน่อย รีบไปเมตตากิเลสเชียว

โบราณเขาจึงได้บอกว่า ให้ตั้งใจว่าตายเป็นตาย ถ้าไม่คิดอย่างนั้นแล้วกิเลสจะหลอกเราทุกครั้ง


ถาม : แล้วการบีบคอเราใช้อะไรครับ ?
ตอบ : จะใช้สมาธิอย่างเดียวก็ได้ แต่ว่าจะต้องยาวนานพอ จะใช้วิปัสสนาญาณอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องมั่นคงพอ

คราวนี้วิปัสสนาญาณจะให้มั่นคงก็ไม่ได้ เพราะสมาธิมีน้อย สมาธิจะให้กดกิเลสจนตายก็ยากอีกเหมือนกัน เพราะว่าขาดความแหลมคม ก็เลยต้องใช้สองอย่างรวมกัน ก็คือ ภาวนาและพิจารณา ถ้าหากกำลังสมาธิคลายตัว ก็ภาวนาใหม่ สลับไปเรื่อย ถ้ากำลังพอเมื่อไร รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ก็จะวางได้เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 30-01-2019 เมื่อ 00:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 147 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา