ดูแบบคำตอบเดียว
  #94  
เก่า 10-11-2015, 14:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,530
ได้ให้อนุโมทนา: 151,474
ได้รับอนุโมทนา 4,406,591 ครั้ง ใน 34,120 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในการเจริญสติปัฏฐานที่บอกว่า กายเห็นกาย เวทนาเห็นเวทนา ?
ตอบ : ใครสอนว่ากายเห็นกาย เวทนาเห็นเวทนา ? เขามีแต่กายในกาย เวทนาในเวทนา

ในเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนทั่วไป ท่านสอนชาวแคว้นกุรุ ซึ่งอาตมาเองฟันธงว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวที่มาอยู่ในบ้านเรา ฉะนั้น..ปัญญาท่านจะสูงมาก ก็เลยนิยมในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งแบ่งออกเป็น กาย เวทนา จิต และธรรม ทั้งหมด ๔ หมวดด้วยกัน

กายในกายท่านบอกว่า คนทั่ว ๆ ไป บางทีแม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่รับรู้ว่ามี ยกเว้นแต่เกิดอะไรขึ้นถึงได้รู้สึกว่ามีร่างกายนี้ ก็แปลว่าจิตใจมืดบอดมาก บุคคลที่มีสติ โดยศึกษาในมหาสติ จะรู้กายในกายของตน อันดับแรกก็คือลมหายใจเข้าออก ถ้าสามารถรู้ลมหายใจเข้าออก ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกาย ที่เรียกว่ากายในกาย ก็คือเป็นกายที่มองไม่เห็น

ส่วนที่ ๒ ท่านให้ดูอิริยาบถคือการเคลื่อนไหว จะเป็นการเดิน ยืน นั่ง นอน

อย่างที่ ๓ ท่านบอกให้ดูในสัมปชัญญะ คืออาการรู้ตัวว่าสภาพร่างกายของเราตอนนี้เป็นอย่างไร จะยืน จะนั่ง จะเหยียดแขน คู้แขน เหลียวหน้า เหลียวหลัง ปกติคนทั่ว ๆ ไปจะไม่รู้ถึงอาการเหล่านี้ เป็นการทำไปโดยอัตโนมัติ แต่คนที่ฝึกสติปัฏฐานมา จะรับรู้อาการทั้งหลายเหล่านี้โดยครบถ้วน

ก็จะไล่ไปลักษณะอย่างนี้จนกระทั่งท้ายสุด ไปดูในเรื่องว่าเมื่อถึงความตายจะมีลักษณะต่าง ๆ กัน ๙ อย่าง จะได้เห็นว่าซากศพที่ตายคือกายภายนอก แต่ผู้รู้คือจิตอยู่ภายใน ท้ายสุดท่านจะสรุปว่า เราไม่ควรจะยึดอะไร ๆ ทั้งหมดในโลกนี้ ฝึกสติไปเพื่อให้เห็นในสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปมองข้ามเมื่อรู้เห็นสมบูรณ์พร้อม สติตั้งอยู่เฉพาะหน้า ถ้ารัก โลภ โกรธ หลงเข้ามา จะได้รู้เท่าทันและป้องกันได้

เรื่องของเวทนาก็เหมือนกัน โดยปกติของเราแล้ว เมื่อสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้น เราจะไปยินดียินร้ายทันที โดยที่ไม่รู้ว่าการที่เรายินดีก็ทำให้ยึดติด ยินร้ายก็ทำให้ยึดติด ปล่อยวางอาจจะเป็นเพราะปล่อยวางได้ หรือเป็นเพราะความรังเกียจเลยหมางเมินไป ทำอย่างไรจิตใจของเราจึงจะไม่ยึดติดในทั้งสุขทั้งทุกข์ และความไม่สุขไม่ทุกข์เหล่านี้

ต้องค่อย ๆ ดูไปทีละอย่าง เพราะว่าในเรื่องมหาสติกล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนละเอียด ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องข้างในมากกว่าข้างนอก ถ้าไม่มีพื้นฐานการปฏิบัติมาในระดับหนึ่ง พอไปตอนท้าย ๆ จะไม่รู้เรื่องเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-11-2015 เมื่อ 17:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 183 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา