ดูแบบคำตอบเดียว
  #76  
เก่า 20-07-2012, 10:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สอบได้คะแนนเต็มร้อย

ในการศึกษาวิชาภาษาบาลีของท่านนั้น ถึงแม้การสอบครั้งแรกจะยังไม่ผ่าน ท่านก็ไม่ได้รู้สึกเสียใจแต่อย่างใด ท่านยอมรับตามนั้น เพราะทราบดีว่าภูมิความรู้ของตนในตอนนั้นยังไม่เต็มที่จริง ๆ

สำหรับการสอบในครั้งต่อ ๆ ไปนั้น ท่านมีความมั่นใจอย่างเต็มภูมิว่า แม้จะสอบหรือไม่สอบก็ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ทั้งนี้ก็ด้วยความสามารถที่ได้แสดงให้ครูสอนบาลีของท่านคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เห็นในระหว่างที่เรียนเพื่อจะสอบมหาเปรียญให้ได้ ในการสอบเป็นครั้งที่ ๓ ครูของท่านถึงกับออกปากว่า
“ท่านบัวนี้ได้แต่ก่อนสอบนะ ให้เป็นมหาเลยนะ ถ้าลงท่านบัวตก นักเรียนทั้งชั้นตกหมด”


ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น คือท่านสอบได้เป็นมหาเปรียญ โดยได้คะแนนบาลีเต็มร้อยในเวลาต่อมา ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า
การสอบได้ในครั้งนั้น ไม่มีอะไรดีใจเลย เพราะรู้สึกว่าความรู้ได้เต็มภูมิตั้งแต่การสอบครั้งที่ ๒ แล้ว แต่ในครั้งนั้นปรากฏว่าสอบตก เหมือนกับจะให้คอยการศึกษาทางนักธรรมเขยิบขึ้นมาตาม จนถึงปีที่สอบมหาได้ก็สำเร็จนักธรรมเอกพร้อมกันเลย ซึ่งน่าคิดว่าเหมือนมีสายเกี่ยวโยงกัน ทำให้การศึกษาทางโลกจบประถม ๓ ทางบาลีก็จบเปรียญ ๓ และทางนักธรรมก็จบนักธรรมเอกเป็น ๓ ตรงกันหมด ๓ วาระ...


ด้วยผลการเรียนดี และเป็นที่ไว้วางใจของผู้ใหญ่ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ ทำให้ผู้ใหญ่หวังจะให้ท่านเป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียน แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธอย่างละมุนละม่อมดังนี้

“... เรียนออกมานักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เปรียญไม่สอนใครทั้งนั้น เป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนก็ไม่เอา ผู้ใหญ่ท่านจะให้เป็นครูสอน... ‘ไม่เอา ครูไม่อดไม่อยาก เอาองค์ไหนก็ได้’ เราว่าอย่างนั้นเสีย เราเลยหลีกได้ ถ้าหากว่า ครูไม่มีจริง ๆ เราจะหลีกอย่างนั้นมันก็ไม่งาม แต่นี้ครูก็มีอยู่ ผู้มีภูมินั้นมีอยู่ที่จะเป็นครู


เราก็ทิ้งให้องค์นั้น ๆ ไปเสีย เราก็ออกได้ เราจึงไม่เป็นครูใครเลย นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก มหาเปรียญ ไม่เคยเป็นครูสอนใครทั้งนั้น...”

ช่วงเวลาที่เชียงใหม่ แม้ท่านจะมีเวลาไม่นานนัก แต่ท่านก็ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด คือพอมีว่างจากการเรียน ท่านจะใช้โอกาสนี้มุ่งเสาะหาสำนักกรรมฐานอยู่ตลอดเวลา ดังนี้

“ทางเชียงใหม่เราก็ไปมาก แต่จำไม่ได้ว่าไปที่ไหนต่อที่ไหนบ้าง ? ตอนเรียนหนังสืออยู่เชียงใหม่เราก็ซอกแซก เพราะนิสัยเรากับกรรมฐานนี้มันเป็นแต่ไหนแต่ไรมา เรียนก็เรียนเพื่อจะออกปฏิบัติอย่างเดียว เราไม่ได้เรียนเพื่ออื่น เรียนเพื่อปฏิบัติ เพราะฉะนั้น พอว่างเมื่อไร ‘ปั๊บ’ จึงเข้าหาสำนักกรรมฐาน วัดไหนอยู่แถวนั้น เราไปหมดนั่นแหละ ไปภาวนา พอถึงเวลาโรงเรียนจะเปิดเราก็มาเข้าโรงเรียนเสีย พอว่างเมื่อไรก็ ‘ปั๊บ’ เลย ไปแต่วัดกรรมฐาน เพราะฉะนั้น เชียงใหม่จึงไปหลายแห่งนะ ไปสำนักนั้นสำนักนี้ ส่วนมากก็มีแต่สำนักลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้น”


ชีวิตการศึกษาด้านปริยัติของท่านเป็นอันสิ้นสุดลงที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษาพอดี โดยสอบได้ทั้งนักธรรมเอกและเปรียญ ๓ ประโยคในปีเดียวกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-07-2012 เมื่อ 13:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา