ดูแบบคำตอบเดียว
  #50  
เก่า 18-10-2011, 13:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การรู้เห็นต่าง ๆ มีโทษมากกว่าประโยชน์ ยกเว้นว่าเรารู้ถูกทางจริง ๆ เมื่อครู่โยมผู้ชายที่ถามปัญหาเป็นอิสลาม เขาฝึกมโนมยิทธิได้ เขาก็เลยมาถามรายละเอียดที่เขาข้องขัดอยู่

ถึงได้บอกว่าสิ่งที่เรารู้เห็น ถ้าหากว่าเราเชื่อเสียทั้งหมดก็จะโดนชักจูงให้ผิดพลาดได้ง่าย และการรู้เห็นในแต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน วันนี้สมาธิเราดีเราอาจจะรู้เห็นได้ พรุ่งนี้สมาธิไม่ดีการรู้เห็นไม่มี ถ้าเป็นอย่างนั้นโปรดอย่ามั่ว..! ไม่ต้องกลัวเสียหน้า รู้ก็ให้บอกว่ารู้ ไม่รู้ให้บอกว่าไม่รู้ ถ้ามั่วเมื่อไร..เดี๋ยวจะพังทั้งคนบอกทั้งคนฟัง

ประการที่สอง ก็คือ การรู้เห็นของแต่ละคนกำลังไม่เท่ากัน ความชำนิชำนาญไม่เหมือนกัน ฝึกมโนมยิทธิได้เหมือน ๆ กัน คนนี้อาจจะระลึกชาติได้เก่งมากเลย ชัดเจนมาก คนอื่นได้ไม่เท่า แต่อีกคนอาจจะได้เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่นเขา ไม่ว่าเขาจะคิดอะไร สามารถพูดออกมาได้ทุกคำเลย แต่ไปใช้อย่างอื่นก็ไม่ถนัด

คนนั้นได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ อีกคนถนัดจุตูปปาตญาณ แล้วแต่ความถนัดของตน ในเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว เราจะคิดให้เก่งเสมอกันทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องยอมรับสภาพ อย่างที่โยมสองคนบอกว่า คนหนึ่งได้ยินเสียง อีกคนหนึ่งเห็นภาพ เพราะฉะนั้น..เอ็งไปด้วยกัน ถึงเวลาก็ตั้งกำลังใจพร้อม ๆ กัน แล้วก็เอาเรื่องมาต่อกันก็จบ

มโนมยิทธิที่มีโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะว่าส่วนใหญ่คนเห็นแล้วเชื่อเลย ตัวนี้เป็นสักกายทิฐิและมานะเต็ม ๆ "กูเห็น กูจึงเชื่อ" เห็นหรือยังว่าขึ้นด้วยตัวกูเต็ม ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-10-2011 เมื่อ 15:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 188 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา