ดูแบบคำตอบเดียว
  #106  
เก่า 19-10-2010, 16:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,079 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เวลาอยู่ในป่า ถ้าสภาพจิตไม่ได้รับการฝึกมาดี จะเกิดอาการหลอกตัวเอง บางคนกางกลดอยู่ ช่วงเวลาดึกดื่นเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง น้ำค้างเริ่มลง หยด..แปะ..แปะ ยิ่งเวลาน้ำค้างตกใส่ใบไม้ใหญ่ ๆ ที่อยู่บนพื้น เสียงก็ยิ่งดัง เหมือนกับใครมากระโดดดึ๋ง ๆ เราก็จินตนาการว่าเป็นผีกองกอยขาเดียวกำลังกระโดดอยู่ เลยกลัวขวัญหนีดีฝ่ออยู่คนเดียว

บางทีลมภูเขาพัดมา เสียงผ้าสะบัดดัง "ปั๊บ ๆ ๆ" เหมือนกับเสียงคนเดิน นอกจากนี้มีต้นไม้บางประเภท เรียกไม่ถูกว่าต้นอะไร ก้านใบใหญ่มาก เวลาใบแก่ร่วงลงมา จะหมุนควงเอาก้านลงกระแทกพื้นเสียงดัง "ตึ้ก...ตึ้ก..ตึ้ก" ความรู้สึกของเราก็คิดไปว่า สงสัยผีกระโดดลงจากต้นไม้มา เดี๋ยวจะต้องย่องมาหาเราแน่เลย นอนเหงื่อแตกพลั่ก..!

เรื่องพวกนี้เราต้องศึกษาให้ชินเข้าไว้ ถ้าเรารู้เท่าทันก็จะไม่กลัว เพราะในส่วนที่กลัวก็คือกลัวตาย จัดเป็นอวิชชา คือ ความไม่รู้ ความไม่รู้เหมือนกับความมืด ถ้าหากว่าความมืดมีอยู่ ก็จะปิดบังเราไม่ให้เห็นความจริง

พอเราคิดว่าทำไมผีกระโดดบ่อยจัง จึงเปิดกลดออกไปส่องไฟดู ทีนี้เห็นชัดเลยว่าใบไม้กำลังหมุนควงตกลงมาบนพื้น แสงสว่างที่เราส่องออกไปพบต้นตอของปัญหา ก็เหมือนปัญญาของเรา

เมื่อปัญญามาถึง อวิชชาหรือความไม่รู้ที่เป็นความมืดก็ถอยไป คราวนี้จะมากี่ "ตึ้ก" ก็เฉย เพราะรู้แล้วว่าเป็นใบไม้ ไม่ใช่ผีอย่างที่เราคิดกลัวไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 19-10-2010 เมื่อ 18:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 146 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา