ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 23-06-2011, 21:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อันดับถัดไป ราคะอีกรูปแบบหนึ่งก็คือโลภะ ความโลภอยากได้ เพราะเกิดราคะ ยินดี จึงเกิดโลภะ อยากมีอยากได้ ให้ตัดด้วยการให้ทาน ซึ่งพวกเราทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอามิสทานก็ดี หรือว่าธรรมทานก็ดี คือเราไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สินยังไม่พอ ยังไม่ตระหนี่ในความรู้ด้วย

และท้ายที่สุดเป็นอภัยทาน ก็คือไม่ตระหนี่ในอารมณ์ใจของตนเอง ไม่เก็บเอาสิ่งที่ไม่ดีไว้ในใจ รู้จักให้อภัยผู้อื่น ถ้าท่านสามารถทำอย่างนี้ได้จนเป็นปกติ เรื่องของโลภะก็จะไม่มีอำนาจเหนือจิตใจของเราได้

ส่วนในเรื่องของโทสะนั้น แก้ไขโดยการทรงพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นปกติ เมื่อปฏิบัติภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้ซักซ้อมแผ่เมตตาไว้เสมอ แรก ๆ ก็ส่งให้คนที่เรารักก่อน พอคล่องตัวมากแล้วก็ให้คนที่เรารักน้อย ให้คนที่เราไม่รักไม่เกลียด ให้คนที่เราเกลียดน้อย ให้คนที่เราเกลียดมากไปตามลำดับ ถ้าไปให้คนที่เราเกลียดมากหรือให้ศัตรูทีเดียว กำลังใจจะไม่ยอมรับแล้วเกิดการต่อต้านขึ้นมา

ถ้าหากว่าเรารักเขาเสมอด้วยตัวเรา เราก็จะเกิดการสงสาร ไม่โกรธไม่เกลียดใคร ถ้าหากว่ากำลังใจไม่ชอบในการแผ่เมตตา ก็ให้ใช้กสิณทั้ง ๔ ก็คือ วรรณกสิณ อันประกอบไปด้วย โอทาตกสิณ การเพ่งสีขาว โลหิตกสิณ การเพ่งสีแดง ปีตกกสิณ การเพ่งสีเหลือง และนีลกสิณ การเพ่งสีเขียว กสิณสีทั้ง ๔ อย่างนี้มีอำนาจพิเศษก็คือ ถ้าทำได้ทรงตัวจะช่วยระงับโทสะได้ดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 02:39
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา