ดูแบบคำตอบเดียว
  #29  
เก่า 27-06-2013, 10:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,619
ได้ให้อนุโมทนา: 151,818
ได้รับอนุโมทนา 4,413,419 ครั้ง ใน 34,209 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "จะเล่นพระเครื่องต้องเอาทีละอย่าง ศึกษาทีละเนื้อ ไม่อย่างนั้นแล้วจะมั่วไปหมด แม้กระทั่งศึกษาทีละเนื้อ อย่างเช่นเนื้อผงหรือเนื้อดิน เราก็ต้องรู้ว่าเนื้อนี้สร้างด้วยอะไรบ้าง ต้องรู้ถึงลักษณะเด่นว่าเวลาสร้างขึ้นมาแล้ว จะมีอะไรเป็นจุดเด่นของเนื้อชนิดนั้น ลักษณะของเนื้อใหม่เป็นอย่างไร เนื้อปานกลางเป็นอย่างไร เนื้อเก่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะดูยากสักหน่อย

แต่ว่าถ้าเป็นเสียครั้งแล้วก็จะจำได้ตลอดชีวิตเลย ถ้าเล่นหลาย ๆ อย่าง ใครว่าอะไรดีก็แห่ตามเขาไป เดี๋ยวก็เจ๊ง เพราะค่าครูมักจะแพง กว่าจะรู้จริงแต่ละอย่างนี่หมดไปไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร

อาตมาได้เปรียบ เพราะพี่ชายเล่นพระมาตั้งแต่อาตมายังตัวเล็ก ๆ วัน ๆ กับพวกเพื่อนร่วมก๊วน ๔ - ๕ คน มากินน้ำชากาแฟส่องพระกันทั้งวัน เสร็จแล้วพระน้องชายก็มาชอบต่อ ตั้งแต่พวกเรายังเรียนป. ๕ - ๖ ก็มีพระเก่าดี ๆ กันคนละหลาย ๆ องค์ อย่างพระถ้ำเสือพิมพ์ตุ๊กตา พระถ้ำเสือพิมพ์ใหญ่ พระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีก ฯลฯ เพราะตอนนั้นบ้านอยู่กำแพงแสนติดสุพรรณบุรี ก็ต้องเล่นของในพื้นที่ก่อน คราวนี้พอดูเป็นแล้วก็สบาย

บางทีรุ่นใหญ่เขาสอนถึงขนาดให้เอาน้ำหยดใส่พระถ้ำเสือ หยดลงก็หายวาบเลย องค์นี้ตีไปเลย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของแท้ ถามว่าทำไม ? เพราะของที่ผ่านการเผามาเก่านานขนาดนั้น ความชื้นจะมีน้อยมาก ฉะนั้น..ถ้าความชื้นลง จะถูกดูดวูบหายเกลี้ยงเลย เขาจะมีจุดเด่นจุดตาย ลักษณะพิมพ์ทรงที่ต้องจำให้แม่น เรียนทีละอย่างแล้วจะแม่น ถ้าเรียนหลาย ๆ อย่างมักจะมั่ว"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2013 เมื่อ 19:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 219 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา