ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 15-10-2010, 21:20
สายท่าขนุน สายท่าขนุน is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 759
ได้ให้อนุโมทนา: 160,001
ได้รับอนุโมทนา 133,088 ครั้ง ใน 5,305 โพสต์
สายท่าขนุน is on a distinguished road
Wink

ขออภัยที่ไม่ใช่ "ผู้รู้" แต่บังอาจมาตอบตามความเข้าใจของตนเอง

เริ่มจากความหมายของคำว่า "ประกอบ" ที่ใช้กันธรรมดา...
ประกอบ ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์;
ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ;

ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา;
เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.

และตามที่ได้ไปค้นหาอ่านเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎก...
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=167
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑
๑๗. ภูมิจาลสูตร
อรรถกถาภูมิจาลสูตรที่ ๑๐ จาลวรรคที่ ๒
...ในบทว่า มาโร ปาปิมา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชื่อว่ามาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ในความพินาศให้ตายไป.
บทว่า ปาปิมา นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า มาโร นั้นนั่นแล.
จริงอยู่ มารนั้น เขาเรียกว่าปาปิมา เพราะประกอบด้วยบาปธรรม.
บทว่า ภาสิตา โข ปเนส ภนฺเต ความว่า จริงอยู่ มารนี้มาที่โพธิมัณฑสถาน ในสัปดาห์ที่ ๘
ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณแล้วทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นพระองค์ทรงบรรลุตามพระประสงค์แล้ว
สัพพัญญุตญาณพระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว ประโยชน์อะไรที่พระองค์จะต้องทรงตรวจดูสัตว์โลกเล่า
แล้วทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดเสด็จปรินิพพานในบัดนี้เหมือนในวันนี้.


หรือ
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8...B8%95%E0%B8%A3
สฬายตนสังยุตต์ - ปัณณาสกะที่ ๓ - ๕. นวปุราณวรรค - ๖. อนันเตวาสิกานาจริยสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
อนันเตวาสิกานาจริยสูตร
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้อันไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์อยู่ เป็นทุกข์ ไม่สำราญ
ส่วนภิกษุไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ อยู่เป็นสุขสำราญ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่สำราญเป็นไฉน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป เป็นอกุศล คือ ความดำริอันฟุ้งซ่านอันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้
เพราะ เห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมเหล่านั้นย่อมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น
เพราะอกุศลธรรมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก
เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่ามีอาจารย์ อีกประการหนึ่ง
อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันฟุ้งซ่าน เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะฟังเสียงด้วยหู ... เพราะสูดกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น
...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น
เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก
เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอาจารย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิกมีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อย่างนี้แล ฯ

ดังนี้จึงเห็นว่า ประกอบสัตว์ ก็คือผูกสัตว์ (โลก) ไว้
หากเป็น มาร หรือเป็นอกุศลธรรม ก็จะผูกสัตว์ไว้ในภพ ในวัฏสงสาร นั่นเอง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน

อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา