ดูแบบคำตอบเดียว
  #20  
เก่า 08-04-2015, 09:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,366
ได้รับอนุโมทนา 4,405,932 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

"ลักษณะของนักปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ต้องพิจารณาให้รอบคอบและรอบด้าน ทันทีที่ขยับตัวเราต้องรู้ว่าศีลจะขาดหรือเปล่า ถ้ายังไม่สามารถทำถึงตรงจุดนี้ได้ ชีวิตนี้ยังเอาดีได้ยาก ถ้าเราขยับตัว สติรู้ตัวทั่วพร้อมว่าศีลจะบกพร่องหรือไม่ ? กาย วาจา ใจของเราจะเป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่นหรือเปล่า ? ถ้าลักษณะนี้พอที่จะเอาตัวรอดได้

ส่วนในเรื่องของสมาธิ ต่ำสุดต้องทรงปฐมฌานละเอียดได้ ไม่อย่างนั้นกำลังไม่พอที่จะสู้กับกิเลส เนื่องเพราะว่าการที่เราจะรู้ว่ากิเลสเข้าเมื่อไรนั้น อันดับแรกต้องมีสติ เมื่อมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ รัก โลภ โกรธ หลงเข้ามาจะรู้ทันที ก็ต้องมีข้อที่ ๒ คือสมาธิ ระงับยับยั้งตนเองไม่ให้ไหลไปตามกระแสกิเลสที่เข้ามาชักจูง

หลังจากนั้นก็ใช้ปัญญา ซึ่งเกิดจากความสงบของจิตด้วยอำนาจของสมาธิ ในการห้ำหั่นตัดฟันกิเลสตัวนั้น ๆ ด้วยกรรมฐานคู่ศึก อย่างเช่นว่า ถ้าโกรธก็ต้องแผ่เมตตา หรือว่าถ้าเกิดราคะขึ้นมาก็ต้องพิจารณาในกายคตาสติและอสุภกรรมฐาน เป็นต้น จนกระทั่งสามารถระงับยับยั้ง หรือว่าตัดกิเลสนั้นลงได้

แรก ๆ อย่าพึงหวังว่าจะตัดได้ทีเดียว เราสามารถระงับไม่ให้กิเลสกำเริบได้ถือว่าสุดยอดแล้ว หลังจากนั้นก็หาวิธีค่อย ๆ ขัด ค่อย ๆ เกลาไป แต่ถ้าใครกำลังสมาธิสูงพอ มีความคล่องตัวในการเข้าออกฌานสมาบัติได้อย่างใจของตน จะสามารถระงับกิเลสได้ทันท่วงทีทุกครั้ง แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะถ้าเผลอสติ ต่อให้ทรงสมาธิได้สูงขนาดไหน ถ้าโดนกำลังของกิเลสตีกลับมาท่วมทับ กำลังสมาธิไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เราก็ต้องไปทนทุกข์ทรมานกับกิเลสที่จะมาทำลายเรา ทำร้ายเราอีก"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-04-2015 เมื่อ 16:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 215 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา