ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 29-07-2009, 10:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,581
ได้ให้อนุโมทนา: 151,726
ได้รับอนุโมทนา 4,411,610 ครั้ง ใน 34,171 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตนเอง ถนัดนั่งขัดสมาธิ...ก็ขัดสมาธิ ถนัดนั่งพับเพียบ....ก็นั่งพับเพียบ เพียงแต่ว่าตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่เฉพาะตรงหน้า หายใจเข้าออกสัก ๒-๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออก จากนั้นกำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา หายใจเข้า...ความรู้สึกทั้งหมดตามเข้าไปด้วย ให้รู้ว่ามันผ่านจมูก ผ่านอก ลงไปสู่ที่ท้อง
หายใจออก....ให้มันรู้ว่าออกจากท้อง ผ่านกลางอก ผ่านที่จมูก หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด ให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ ถ้าจิตไปคิดเรื่องอื่นให้สลัดทิ้งเสีย กลับมาอยู่กับลมหายใจของเราตามเดิม

ความกังวลนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า ปลิโพธะ อ่านกันง่าย ๆ ว่าปลิโพธ มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน คืออาวาสปลิโพธ กังวลด้วยที่อยู่ อย่างเช่นว่า บางคนคิดเป็นห่วงบ้าน ปิดดีแล้วหรือยัง ล็อกประตูดีแล้วหรือยัง ถ้าหากจิตไปคิดไปห่วง ก็ไม่สามารถที่จะทำให้สมาธิทรงตัวได้ ต้องทำใจไปเลยว่าตอนนี้เราอยู่ที่นี่ ถึงแม้มันไม่ได้ปิดไม่ได้ล็อกก็ตามที เราก็ไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้ในตอนนี้

หรือทำใจให้ได้เหมือนอย่างอุบาสิกาในพระไตรปิฎก ที่ไปฟังพระลูกชายของตนเองเทศน์ แล้วสาวใช้มาบอกว่าโจรกำลังปล้นบ้าน เธอตอบว่า 'แม่คุณอย่าทำให้ฉันฉิบหายจากความดีเสียเลย โจรอยากได้อะไรก็จงเอาไปเถิด เราจะฟังธรรม' อันนี้คือสามารถตัดปลิโพธิ คือความกังวลได้อย่างเด็ดขาด ใส่ใจอยู่กับธรรมเฉพาะหน้าเท่านั้น

ข้อที่สองเรียกว่า กุลปลิโพธ ก็คือ ความยึดห่วงอยู่กับตระกูล อยู่กับครอบครัว ห่วงคนนั้นห่วงคนนี้ว่าจะเป็นอย่างไร และท้ายสุดห่วงแม้กระทั่งตนเองว่าจะเป็นอย่างไร

ตรงนี้ก็ต้องเอาตัวอย่างพระภิกษุในพระไตรปิฎก ไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านตลอดสามเดือน เมื่อออกจากบ้านนั้นไป ก็เจอกับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นลุง บอกว่าตนเองไปอยู่ที่บ้านมาสามเดือน เขาถวายของสิ่งนั้นสิ่งนี้มา แล้วก็นำถวายพระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์ที่เป็นลุงก็รับของจากพระภิกษุผู้เป็นหลาน พระอุปัชฌาย์เมื่อมาเยี่ยมบ้าน เดินเข้าไปในบ้าน น้องสาวเห็นก็ดีใจ แต่พอเห็นว่าลูกชายไม่ได้มาด้วย ก็ร้องไห้คร่ำครวญคิดว่าลูกจะตายแล้ว โดยไม่รู้ว่าลูกตนเองมาอยู่จำพรรษาที่บ้านตลอดสามเดือน แสดงว่าลูกคงไปบวชเสียตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อกลับมาตอนโตเป็นหนุ่มใหญ่แล้วคงจำไม่ได้ ผู้เป็นพี่ชายที่เป็นอุปัชฌาย์จึงต้องเอาสิ่งของที่รับจากบ้านมายืนยัน ว่าลูกชายมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ตลอดสามเดือน ผู้เป็นแม่จึงได้สติว่า เออหนอ อัศจรรย์จริง ๆ ลูกของเราตัดความห่วงความกังวลได้ขนาดนี้ แม้แต่เวลาที่อยู่ด้วยก็ไม่เคยปริปากมาสักคำเดียวว่าเราเป็นลูกของแม่ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยตรง ดังนั้นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เราต้องดูคนโบราณว่าเขาทำอย่างไร ขึ้นชื่อว่าเป็นห่วงในตระกูล ห่วงได้ แต่อย่ากังวล เพราะว่าทำให้จิตใจเราเศร้าหมองแล้วไม่ตั้งมั่น

ข้อต่อไปเขาเรียกว่า ลาภปลิโพธ ก็คือ ความกังวลในลาภสักการะ ถ้าเป็นของเราก็คือพวกกิจการงานต่าง ๆ ถ้าหากว่าไม่ได้ทำอาจจะเสียหาย อาจจะไม่มีรายได้ที่เคยรับประจำ เป็นต้น ขอให้โยนทิ้งไปจากใจเลยว่าตอนนี้เราอยู่ที่นี่ กังวลไปก็ไม่มีประโยชน์ มันจะเป็นอย่างไรช่างมัน กลับไปแล้วค่อยแก้ไขจัดการใหม่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-12-2009 เมื่อ 13:53
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา