ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 24-08-2011, 04:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,838 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือว่าพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์เป็นภัย เป็นของน่ากลัว ที่เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นต้น การที่เราพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ต้องเห็นว่าสภาพร่างกายของเรานี้ มีโรคาพยาธิคอยเบียดเบียนอยู่เสมอ เดี๋ยวหิว เดี๋ยวกระหาย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

เหมือนกับสัตว์ดุร้ายตัวหนึ่งที่เลี้ยงเท่าไรก็ไม่เชื่อง ให้กินเข้าไปตอนเช้า ยังไม่ทันกลางวันก็หิวอีกแล้ว กินตอนกลางวันเข้าไป ยังไม่ทันจะเย็นก็หิวอีกแล้ว ความหิวที่มาเบียดเบียน ถ้าเราไม่หาอาหารไปสนองให้ ร่างกายนี้ก็จะอาละวาด

ถ้าสถานเบาก็ปวดท้องปวดไส้ เป็นลม เป็นต้น ถ้าสถานหนักหน่อยก็อาจจะถึงขนาดกระเพาะทะลุ อาจจะถึงกับเลือดตกในเสียชีวิตได้ ดังนั้น..ร่างกายนี้เป็นทุกข์เป็นภัย เหมือนกับเลี้ยงสัตว์ร้ายไว้ตัวหนึ่ง ถึงเวลาก็ขบกัดเราอยู่ตลอดเวลา

หรือจะพิจารณาว่าสภาพร่างกายนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพึงปรารถนา น่าจะหลีกหนีไปให้พ้นที่เรียกว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณก็ได้ ถ้าหากว่าเห็นชัดเจนแล้ว สภาพจิตยอมรับ ไม่ไปดิ้นรนอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้อีก จิตก็จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หมดความปรารถนาในร่างกายของตนเองและของคนอื่น เมื่อถอนจิตออกมาจากความปรารถนาอันนั้น ไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นถือมั่น จิตก็จะมีสภาพที่เบา สะอาด สว่าง สงบ หลุดพ้นจากแดนเกิดทั้งปวง เข้าสู่พระนิพพานได้เช่นกัน

ดังนั้น..เมื่อท่านทั้งหลายภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว สิ่งที่สำคัญ ก็คือ ต้องใช้กำลังนั้นมาพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ไม่ว่าจะเป็นแนวอริยสัจ แนวไตรลักษณ์ หรือแนววิปัสสนาญาณ ๙ ก็ดี ไม่เช่นนั้นแล้ว สภาพจิตจะเอากำลังอันนั้นไปฟุ้งซ่านกับรัก โลภ โกรธ หลง สร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรามาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-08-2011 เมื่อ 09:39
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา