ชื่อกระทู้: ยันต์
ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 23-03-2009, 08:33
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

การสักยันต์ มีมาแต่ในสมัยโบราณ์กาลแล้ว สมัยก่อนมีการสักยันต์สองประเภท คือ สักยันต์สำหรับพวกเล่นวิชา สักยันต์อีกแบบหนึ่งเรียกว่านักโทษ หรือ ทาส ในที่นี้จะกล่าวถึงการสักยันต์ที่เรียกว่านักโทษก่อน
สักยันต์ ที่เรียกว่านักโทษ หรือ ทาส นั้นในสมัยก่อนไม่มีกระดาษหรืออะไรที่แสดงว่าบุคคลที่ต้องอาญาหรือเป็นทาสแสดงได้ เขาจึงใช้การสักที่หน้าผาก โดยมีสัญญาลักษณ์ แต่ละแบบไม่เหมือนกัน เพื่อป้องกันการหลบหนี และทานคนนั้นขึ้นกับเจ้าขุนมูลนายท่านใด มองที่หน้าก็จะรู้ทันที

สักยันต์ แบบผู้เล่นวิชา มีมาแต่สมัยโบราณ์ผู้ที่สักหรือผู้ที่เล่นวิชาจะถือวิชาอย่างเคร่งครัดไม่ยอมผิดครูใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะกลัวว่าวิชาจะไม่กล้าแกร่งอย่างเต็มที่

สักยันต์นั้นมีมาแต่ในสมัยก่อนยุคกรุงสุโขทัย แต่เท่าที่เห็นได้ชัดมาปรากฏในยุคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเป็นช่วงของการเสียเมือง บรรดาททหาร ประชาชน ต่างต้องหาของดีไว้ป้องกันตัว แม้แต่พระองค์ท่านซึ่งไม่มีประวัติในการสักก็จริง แต่มีในส่วนของสมเด็จพระสังฆราชคือ สมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้วเป็นผู้ที่ดูฤกษ์ชัย ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในยุคนั้น ไม่ว่า การบรรจุดวงพิชัยสงคราม การดูฤกษ์ออกรบ การปล้นค่าย รวมทั้งการทำพิธีอันศักสิทธิ์ทั้งหลายเพื่อให้ได้ชัยชนะอีกทั้งการทำดวงพิชัยสงคราม ในการหนุนดวงที่มีมาจนถึงปัจจุบันนี้

สักยันต์จะมาปรากฏให้เห็นเด่นชันในยุคปลายเสียกรุงศรีอยุธยา คือยุคบางระจัน ที่ชาวบ้านบางระจันป้องกันหมู่บ้านของตนเอง โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นฝ่ายสงฆ์ ท่านเป็นพระผู้ให้และเสียสละ ทุกครั้งที่มีการต่อสู้กับพม่าท่านจะให้ศีลให้พร รวมทั้งการแจก ผ้ายันต์ ตระกรุด พิสมร ให้กับชาวบ้านไม่ว่าระดับเล็กหรือระดับใหญ่ และชาวบ้านส่วนมากก็มีการสักยันต์ การลงน้ำมันทาตัว เพื่อให้เหนียวและอยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่แปลกใจของบรรดาแม่ทัพพม่า ว่าชาวบ้านเพียงเล็กน้อย สามารถจะสู้กับกองทัพใหญ่ของพม่าได้

สักยันต์ ยุคของกรุงรัตน์โกสินทร์ ปรากฏในสมัยของเชื้อพระวงค์คือ กรมหลวงชุมพร หรือ ที่เรียกว่าเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเรียนวิชา โหรศาสตร์ วิชาพระเวทย์ วิชาหมอยา เรียกได้ว่าเป็นผู้แกร่งกล้าอาคมเลยทีเดียว สามารถที่จะใช้วิชา เป่า เสก มนต์ต่าง ๆได้สมความประสงค์ เช่น เสกใบไม้เป็นต่อ เสกคนเป็นจระเข้ อีกทั้งการแก้ไขดวงชะตาตามพิธีกรรมเก่าแก่

มาในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าการปกครอง ทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้วิชาการสักยันต์ได้หายสาบสูญไปเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ เช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงพ่อแล วัดทรงบน หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม หลวงพ่อประเทือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมทั่งอาจารย์ฆราวาส คือ อาจารย์ฟ้องดีสว่าง อาจารย์ทอง อาจารย์หลุน ขุนพันธ์ อาจารย์เฮงไพรวัลย์ อาจารย์ฮะ ซึ่งท่านเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นระดับผู้มีวิชา ถือย่างเคร่งครัด
การสักยันต์ ในที่นี้จะขอกล่าวประเภทของการสักยันต์มีสองประเภท
๑. สักยันต์แบบน้ำมัน
๒. สักยันต์แบบหมึก


๑. สักยันต์ แบบน้ำมัน เป็นการสักยันต์ที่ไม่ปรากฏภาพให้เห็น วัตถุที่ประกอบในการสักน้ำมันมี

๑.๑ น้ำมันสัก อาจารย์ส่วนใหญ่ท่านจะใช้น้ำมันงา เพราะเข้าร่างกายไม่เป็นอะไร

๑.๒ ว่านที่ใช้ผสมกับน้ำมันงา อยู่แต่ละประเภทของยันต์ หรือภาพยันต์ แต่การนำว่านที่มาผสมสักนั้นมิใช่ว่าจะซื้อมาก็ทำได้เลย ต้องมีพิธีกรรม โดยเมื่อได้หัวว่านมาแล้ว มีการหาฤกษ์ยามในการปลูก ถ้าคงกระพันใช้วันที่แข็ง ถ้าว่านทางเมตตาใช้วันอ่อน ระหว่างที่ปลูกต้องมีมนตร์คาถาปลูก และการรดน้ำว่านก็มีคาถากำกับเสมอ และในตอนสุดท้ายการขุดต้องหาวันขุดว่านด้วย ถึงจะได้สำฤทธิ์ผลของว่าน มิใช่ซื้อว่านมาก็ผสมได้ทันทีแบบในยุคปัจจุบันนี้ที่อาจารย์หลายท่านได้ทำกัน

การสักน้ำมันแบ่งเป็นสองประเภท

ก. สักทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด หนังเหนียว การสักยันต์ หรือภาพประเภทนี้ มี ยันต์มหาอุด ยันต์หนุมาน ยันต์ตะกร้อ ยันต์ปัดทมึน ยันต์เสือ ยันต์ลิงลม ยันต์พญาลิง แต่ละยันต์เหล่านี้ก็ใช้ว่านทางคงกระพันทั้งสิ้น ว่านที่นำมาส่วนใหญ่คือว่านสบู่เลือด ว่านผู้เฒ่าหนังแห้ง ว่านลิงดำ ว่านตะบะฤาษี ฯลฯ ข้อเสียของการใช้ว่านเหล่านี้คือ ถ้าปลูกไม่ตรงวัน หรือ การปลุกไม่ถูกต้อง อีกทั้งบางอาจารย์ซึ้อมาแล้วผสมทันที ก็อยู่ได้เพียงชั่วเบาเท่านั้น อีกทั้งมีข้อถืออยู่ด้วยเพราะจะเป็นการล้างว่านไปในตัวคือ ห้ามกินฟัก กินบวก กินแฟง ห้ามรอดกระไดหัวเดียว ห้ามลอดของต่ำ ก็เหมือนกับการกินยาจีนละครับ

และข้อเสียของทางด้านคงกระพันอีกอย่างคือใจร้อน ทำอะไรไม่ค่อยคิด ใครพูดผิดหูก็จะมีอารมณ์ร้อนทันที เป็นเหตุให้เสียงานเสียการเป็นอย่างมาก บางรายถึงขึ้นติดคุกไปก็มีมากแล้ว

ข. สักทางด้านเมตตา ส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านค้าขาย เน้นเรื่องชายหญิง ให้เกิดความรัก เน้นเสน่ห์ ยันต์ส่วนมากที่ลงคือ ยันต์สาริกา ยันต์หงษ์ทอง ยันต์ไก่ฟ้า ยันต์ไก่ป่าหากิน ยันต์จิ้งจก ฯลฯ ว่านที่ใช้ประกอบ คือว่านสาวหลง ว่านจังงัง ว่านเสน่ห์จันทร์ ว่านดอกทอง ว่านเพชรหึง ฯลฯ ว่านทางเมตตา จะไม่มีการถือมาก เพราะว่านส่วนใหญ่ไม่เน้นคงกระพันหรือเหนียว

ข้อเสียทางด้านเมตตานั้นคงหายากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการสักน้ำมันก็ไม่ใครเห็น อีกอย่างความใจร้อนก็ไม่เกิดเพราะเป็นเมตตา

๒. การสักยันต์แบบหมึก การสักสันต์แบบหมึกนี้ จะปรากฏเป็นภาพสีขึ้นมา โดยปกติการใช้หมึกนั้นส่วนใหญ่จะหมึกจีนเป็นหลักแต่ปัจจุบันนี้ได้มีหมึกเข้ามาในประเทศอย่างมาก บางอาจารย์ก็ใช้หมึกของต่างประเทศเพื่อให้ดูสวยงาม บางอาจารย์ใช้หมึกสีแดง สีเขียวเข้ามาประกอบด้วย เพื่อพัฒนาลวดลายของสำนักตนเอง แต่ที่ตามโบราณยึดถือกันมาเก่าแก่ คือหมึกจีนมากกว่า

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 17-09-2017 เมื่อ 23:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา