ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 15-12-2012, 19:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,530
ได้ให้อนุโมทนา: 151,474
ได้รับอนุโมทนา 4,406,542 ครั้ง ใน 34,120 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อเป็นดังนั้น เราเป็นนักปฏิบัติธรรม ทำอย่างไรจึงจะรักษากำลังใจของเรา ไม่ให้หวั่นไหวไปตามโลกธรรมทั้งหลายเหล่านี้ หวั่นก็คือกลัวว่าจะพบกับสิ่งที่ไม่ดี จะสูญเสียในสิ่งที่ดี ไหวก็คืออาการของจิตใจที่ไหวกระเพื่อม ไปตามสิ่งที่ดีและไม่ดีที่มากระทบ ถ้าเราไม่สามารถที่จะรักษากำลังใจไว้ได้ จิตใจก็จะเศร้าหมองขุ่นมัว หรือว่ายินดียินร้ายไปตามสิ่งที่มากระทบ ทำให้คติหรือว่าที่ไปของเราไม่มั่นคง

แต่ถ้าเราสามารถรักษากำลังใจของเราเอาไว้ได้ รู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมไป ไม่มีอะไรที่จะอยู่ยงทรงตัว ส่วนที่ดีก็ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป ส่วนที่ร้ายก็ไม่ได้มาหาเราอยู่ตลอดไป ถ้ารักษากำลังใจได้ ไม่ฟูเมื่อยามได้ดี และไม่เศร้าหมองเมื่อยามประสบสิ่งร้าย กำลังใจมีความมั่นคง เยือกเย็น ผ่องใส อยู่เป็นปกติได้ ก็พอจะเรียกได้ว่า สมกับเป็นนักปฏิบัติอยู่บ้าง

ดังที่เราจะได้เห็นตัวอย่างว่า ท่านนายกรัฐมนตรีโดนฝ่ายค้านว่ากล่าวเสีย ๆ หาย ๆ พยายามยั่วยุทุกอย่าง เพื่อจะให้เสียท่าออกอาการ แต่ปรากฏว่าท่านนายกรัฐมนตรีของเรา สามารถรักษาอาการเอาไว้ได้ ถ้าเป็นภาษามวยเขาเรียกว่า "เก็บอาการอยู่" ดังนั้น..เราทุกคนอย่างน้อยต้องเก็บอาการอยู่ เมื่อกระทบกับโลกธรรมทั้ง ๘ ยินดีก็อย่าให้มากจนเกินไป ยินร้ายก็อย่าให้หวั่นไหวจนเกินไป ถ้าสักแต่ว่ารับรู้ได้จะดีที่สุด

แต่ว่านั่นเป็นกำลังใจสูงสุด บุคคลที่สักแต่ว่ารับรู้ ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตามทั้งสิ่งดีสิ่งชั่วนั้น ก็จะมีก็แต่พระอรหันต์เท่านั้น แต่ว่าพวกเราทุกคนก็ปฏิบัติธรรมหวังในความเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2012 เมื่อ 02:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา