ดูแบบคำตอบเดียว
  #35  
เก่า 13-08-2015, 12:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,488
ได้ให้อนุโมทนา: 151,147
ได้รับอนุโมทนา 4,405,290 ครั้ง ใน 34,077 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "วันนี้คณะสงฆ์นัดไปสักการะพระผู้ใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี อาตมาก็ไม่ได้ไป การทำวัตรพระเถระ บางคนก็เรียกว่า ทำสามีจิกรรม บางคนก็ว่า ถวายสักการะพระเถระ แต่เดิมเป็นการที่ลูกศิษย์เมื่อเข้าพรรษาไปกราบรายงานตัวต่อพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ว่าปีนี้จำพรรษาอยู่ที่ไหน ? อยู่กับใคร ? เพื่อที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์จะได้รับรู้เอาไว้ ถึงเวลามีอะไรลำบาก มาขอความช่วยเหลือ จะได้รู้ว่าอยู่ที่ไหน อีกอย่างหนึ่ง จะได้ทราบว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล ไปมาหาสู่ ศึกษาเล่าเรียนก็จะได้สะดวกขึ้น

ตอนหลังนิยมเพิ่มเติมพระมหาเถระที่เป็นเจ้าคณะปกครองเข้าไปด้วย แล้วก็เลยกลายเป็นอย่างปัจจุบันนี้ พอถึงเวลาลูกคณะก็ต้องไปสักการะเจ้าคณะของตนเอง ก็เลยมีการนัดแนะวันเวลาเพื่อให้พร้อมเพรียงกัน ถ้าต่างจังหวัดไกล ๆ เหนือสุดใต้สุด บางทีถึงขนาดต้องขอสัตตาหะฯ เพื่อที่จะมาทำวัตรครูบาอาจารย์หรือพระเถระฝ่ายปกครอง ถามว่ากรณีอย่างนี้ขอสัตตาหกรณียะตามพุทธานุญาตได้หรือไม่ ?

สัตตาหกรณียะ ก็คือ ถ้ามีเหตุจำเป็นในช่วงเข้าพรรษาสามารถที่จะไปที่อื่นได้ แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้ว่า ถ้าพ่อป่วย แม่ป่วย พระอุปัชฌาย์อาจารย์ป่วย ไปเพื่อช่วยรักษาพยาบาลได้อย่างพระครูไพศาลสุตาคม วัดดอนแก้ว ไปดูแลแม่ที่เป็นอัมพาต เพื่อนสหธรรมิกที่อยู่ต่างวัดจะสึก ไปเพื่อช่วยห้ามปรามได้ วัดพังไปหาทัพพสัมภาระมาเพื่อซ่อมวัดได้ สมัยนี้ยกหูโทรศัพท์กริ๊งเดียว ร้านวัสดุก็มาส่งแล้ว ได้รับกิจนิมนต์ไปเพื่อเจริญศรัทธาได้ การมาบ้านวิริยบารมีนี้ถือว่ามาเพื่อเจริญศรัทธาให้ญาติโยม

คราวนี้ไม่มีกรณีว่าไปสักการะพระผู้ใหญ่ ถามว่าทำไมไปกันได้ ? ท่านบอกว่าต้องพิจารณาจากมหาปเทส ๔ ก็คือข้ออ้างในการตีความพระธรรมวินัย ตีความพระธรรมวินัยในมหาปเทสท่านมีหลักอยู่ ๔ ประการ มีอยู่ประการหนึ่งคือ เรื่องที่ไม่สมควรแต่พิจารณาแล้วว่าสมควร เรื่องนั้นย่อมสมควร คำว่า ไม่สมควร ในที่นี้เราถือว่าไม่ได้บัญญัติไว้ ในเมื่อพระองค์ท่านไม่ได้บัญญัติไว้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร แต่พิจารณาดูแล้วว่า การไปสักการะพระอุปัชฌาย์อาจารย์ตลอดจนพระเถระเจ้าคณะปกครอง เป็นการทำสามีจิกรรมตามแบบของกิจวัตร วิธีวัตร อุปัชฌาย์อาจาริยวัตร ถือว่าเป็นเรื่องที่สมควร เมื่อเป็นเช่นนั้นก็สัตตาหะฯ กันไปได้

การตีความต้องดูว่าเป็นไปตามหลักมหาปเทสจริง ๆ ไม่ใช่ตีความเข้าข้างตัวเอง ในปัจจุบันนี้ที่อาตมาเห็นว่าไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ถึงเวลาแล้วสมควรไปได้ อย่างเช่นว่า พระท่านไปศึกษาเล่าเรียน เดินทางไปไกลจะให้ไปกลับก็ไม่ไหว บางทีต้องไปค้าง แล้วก็เรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านไม่สามารถบอกได้ว่าต้องรอออกพรรษาแล้วค่อยป่วย ในเมื่อป่วยก็ต้องไปโรงพยาบาล อาการหนักหมอต้องให้นอนโรงพยาบาลเลย เรื่องเหล่านี้ถือว่าไม่สมควรเพราะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่พิจารณาแล้วถือว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร

อย่างบางท่านที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเรื่องเฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ก็น่าจะสูบได้ อันนั้นเห็นชัด ๆ ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร เรื่องนั้นย่อมไม่สมควร"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2015 เมื่อ 15:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 196 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา