ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 19-11-2010, 10:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,530
ได้ให้อนุโมทนา: 151,474
ได้รับอนุโมทนา 4,406,690 ครั้ง ใน 34,120 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ให้รักษาอารมณ์ให้นิ่งไว้ ตามดูตามรู้ไปเฉย ๆ อย่าไปยินดียินร้าย อย่าอยากให้เป็น และอย่าอยากให้หาย ถ้าท่านทั้งหลายสามารถทำได้ โดยไม่ตกใจแล้วกลับไปหาลมหายใจเข้าออก หรือไม่ตกใจจนเลิกปฏิบัติภาวนาเสียก่อน

ความรู้สึกทั้งหมดก็จะรวบเข้ามาอยู่จุดเดียว อาจจะอยู่ตรงหน้า อาจจะอยู่ในอก อาจจะอยู่ข้างหน้าของเรา สว่างไสวเจิดจ้า เยือกเย็นมาก เหลือแต่เอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์ตั้งมั่นอย่างเดียวเท่านั้น ความสุขก็ไม่มีแล้ว อย่างนี้จะเป็นฌานที่ ๔

ถ้าท่านทั้งหลายก้าวสู่ในระดับนี้ ในส่วนที่หยาบ หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก ขนาดฟ้าผ่า หรือเสียงยิงปืนดังอยู่ใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน มีแต่ความสว่างโพลง จิตจะยินดี นิ่ง พอใจอยู่กับความสว่างไสวตรงนั้น จะรู้สึกว่าในอกในใจของเราจะเยือกเย็นมากเป็นพิเศษ ถ้าท่านทั้งหลายก้าวเข้ามาจุดนี้ นั่นก็คือ ฌาน ๔

ขอให้ท่านตั้งใจกำหนดความคิดไว้นิดหนึ่งว่า เราจะทรงฌานนี้เป็นระยะเวลานานเท่าไร อย่างเช่นว่า ๑๕ นาทีถัดจากนี้ไป ครึ่งชั่วโมงถัดจากนี้ไป หรือหนึ่งชั่วโมงถัดจากนี้ไป

ถ้าท่านกำหนดใจไว้อย่างนี้ ถึงเวลากำลังใจจะถอยออกมาเอง แต่ถ้าท่านไม่ได้กำหนด บางทีอาจจะเผลอข้ามวันข้ามคืนโดยไม่รู้ตัว เพราะความรู้สึกของเราจะรู้สึกว่า ครู่เดียวเท่านั้น แต่เวลาภายนอกผ่านไปยาวนานมาก

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำดังนี้ได้ ก็แปลว่าเราสามารถทรงฌานในแต่ละระดับได้ ไม่จำเป็นต้องได้รวดเดียวถึงฌาน ๔ และไม่จำเป็นว่าต้องผ่านทีละฌาน บางทีอาจจะวูบเดียวข้ามไปเป็นฌาน ๔ เลยก็ได้ หรือว่าเราอาจจะติดอยู่แค่ปฐมฌานเท่านั้นก็ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-11-2010 เมื่อ 11:09
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา