ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 19-01-2017, 12:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,034 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อในส่วนของการประพฤติปฏิบัติ เราสามารถที่จะตามดูตามรู้ใจของเราไปเรื่อย ว่าตอนนี้นิวรณ์ไม่สามารถกินใจของเรา เพราะเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก สภาพใจของเราตอนนี้มีสมาธิตั้งมั่น รัก โลภ โกรธ หลง กินใจไม่ได้ชั่วคราว เมื่อใจสงบสงัด ปัญญาเกิด ถ้าระมัดระวังป้องกันไม่ให้นิวรณ์เข้ามาไม่ได้ ต้องหาวิธีเข่นฆ่าทำลายเสีย นั่นก็คืออยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา

แรก ๆ ก็ได้แค่ชั่วคราว พอนานไปก็สามารถอยู่ได้นานขึ้นไปเรื่อย ๆ สภาพจิตยิ่งผ่องใสนานเท่าไร เราก็สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจของเราให้อยู่ในความดีได้นานเท่านั้น นั่นก็คือปัญญาในขั้นต้นที่ทำให้เราเห็นว่าอะไรควรยึด อะไรควรละ สิ่งที่เราควรยึดคือลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา สิ่งที่เราควรละก็คือนิวรณ์ต่าง ๆ ทั้ง ๕ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าเผลอสติไหลตามนิวรณ์ไป เมื่อรู้ตัวก็ให้รีบดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกใหม่

เมื่อทำไปเรื่อย ๆ บางทีก็เกิดความเบื่อหน่าย ว่าทำไมต้องทำไม่รู้จักเลิก ความเบื่อเช่นนั้นเป็นของดีมาก ถ้าหากว่าเราไม่เบื่อ เราก็ไม่อยากจะหลีกไปให้พ้น ฉะนั้น...เราต้องรักษาความเบื่อให้ทรงตัวเอาไว้ แล้วพิจารณาว่าตัวเราจะเบื่ออย่างไรก็ตาม หากไม่ถึงอายุขัยตายลงไป เราก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงสภาพของความทุกข์ยากเช่นนี้ได้

ถ้าเป็นอย่างนั้น เราต้องกำหนดใจว่า ถ้าตัวเราจะตายลงไปเพราะหมดอายุขัยก็ดี หรือตายลงไปเพราะอุบัติเหตุอันตรายใด ๆ ก็ตาย เราขอไปที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-01-2017 เมื่อ 20:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา