ดูแบบคำตอบเดียว
  #275  
เก่า 07-04-2015, 16:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,871 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

แบ่งพัก แบ่งสู้


หลวงปู่มั่นใส่ปัญญา “บ้าหลงสังขาร” ให้แก่ท่าน โดยไม่มีการอธิบายหรือแจกแจงอะไรให้เลย ทั้งนี้เพื่อให้ท่านได้ขบคิดใช้สติปัญญาของตนพิจารณาหาทางแก้ไขเอาเอง ดังนี้

“... ท่านเอาทั้งรังทิ้งเลย ปัญญานี้เอาทิ้งเลย ให้หาใหม่ เป็นอย่างนั้นละ คำว่าหลงสังขาร คือทางกิเลสมันก็เอาสังขาร ความคิดความปรุงนี้ออกไปใช้ เข้าใจไหมล่ะ ? ทีนี้ทางมรรคทางปัญญา ก็ต้องเอาสังขารนี้ออกมาใช้ทางด้านปัญญา เมื่อเวลาใช้มาก ๆ มันไม่รอบคอบต่อสังขารที่เป็นฝ่ายมรรค สังขารฝ่ายสมุทัยก็แทรกเข้ามา ๆ ‘นั่นละ มันหลงสังขาร’


คือหลงสังขาร ตัวมันเป็นสมุทัย เราไม่รู้เข้าใจไหม ท่านว่าอย่างนั้น ทีนี้มันลงนะ เห็นจะเป็นอย่างท่านว่า แต่ความหมุนของเราที่มันหมุนด้วยปัญญานี้.. ไม่ถอยนะ เวลามันจะตายจริง ๆ ก็รั้งเข้ามาสู่สมาธิ รั้งเข้ามานะ..

สมาธินี้มันเกรียงไกรขนาดไหน ฟังซิ.. ติดถึง ๕ ปีมันไม่ได้สนใจนะ เหมือนหมูขึ้นเขียงมันว่างั้น เวลามันจะตายจริง ๆ ก็ย้อนเข้ามาสู่สมาธิ กำหนดภาวนาสมาธิถึงขนาดได้บริกรรมจิตของเรา มันเป็นสมาธิแน่นหนามั่นคงมาขนาดไหน ทำไมจึงต้องใช้คำบริกรรมกำกับ ก็คือว่ามันเพลินกับเรื่องปัญญามากกว่าสมาธิ เพราะฉะนั้น เวลาเราจะถอนเข้ามาให้อยู่ในสมาธิ มันไม่ยอมอยู่ มันจะพุ่งเข้าหางานแก้กิเลส เราจึงต้องบริกรรม คำว่าบริกรรมนี้ นึกพุทโธ ๆ เราชอบพุทโธ เอาพุทโธติดไว้เลย ให้สติอยู่กับจิตติดอยู่กับนี้ ไม่ให้ออกไปทำงาน คือสติถ้าออกจากนี้มันก็ไปหางาน งานฆ่ากิเลสทางด้านปัญญา ทีนี้หมุนงานฆ่ากิเลสทางด้านปัญญาด้วยสตินั้น เข้ามาสู่สติกำกับคำบริกรรม มันก็อยู่กับคำบริกรรมบังคับไว้ เผลอไม่ได้นะ

แต่เราไม่อยากพูดคำว่าเผลอนี่ มันเผลอเมื่อไร ถ้าเราอ่อนนี่ทางปัญญามันจะออกทันที ออกพุ่งหาปัญญา จึงต้องบังคับ ๆ เอาไว้ พุทโธ ๆ ๆ ถี่ยิบเลยนะ ไม่ยอมให้มันคิดทางไหน สักเดี๋ยวมันก็แน่ว ๆ เมื่อคำบริกรรมกับสติติดแนบกัน ไม่ยอมให้ออกไปทำงานด้านปัญญาแล้ว ทางนี้มันก็ค่อยสงบตัวลง ๆ แล้วแน่วลงเลยนะ ลงสู่ฐานเดิมของสมาธิเราที่เคยเป็น ทีนี้ถึงลงขนาดนั้นแล้วมันยังต้องได้บังคับเอาไว้ คือความเพลินทางปัญญามันมีน้ำหนักมากกว่านี้อยู่ พอเบามือมันจะพุ่งออกโน้นเลย เราต้องบังคับไว้ตลอด

จนกระทั่งจิตสงบแน่วอยู่เต็มที่เต็มฐาน ทีนี้.. มันเหมือนถอดเสี้ยนถอนหนามนะ ความทุกข์ ความลำบากลำบน ในธาตุในขันธ์ที่มันอ่อนเปียกเพราะการพิจารณามาก มันจะสงบตัวลงไป ๆ เหมือนกันหมด ทีนี้.. จิตสงบแน่วไม่คิดไม่ปรุงอะไรเลย อยู่ด้วยความสงบอันเดียวเหมือนสมาธิแต่ก่อน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-04-2015 เมื่อ 17:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา