ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 19-04-2017, 19:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คืออย่าใช้สายตาไปเพ่งภาพพระนั้น เพราะว่าการกำหนดนึกถึงภาพพระไม่ใช่ตาเห็น เป็นการเห็นด้วยใจ ลักษณะของการเห็นด้วยใจนั้น ก็เหมือนกับเรานึกถึงหน้าคนที่เรารู้จัก เราสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่ตาเห็น

การนึกถึงภาพพระก็นึกในลักษณะนั้น เป็นการกำหนดอยู่ในห้วงนึกของเรา ไม่ใช่กำหนดด้วยสายตา เพราะฉะนั้น...ให้ลืมเรื่องสายตาไปเลย ถ้าหากว่าเราใช้สายตาเพ่งภาพพระเป็นระยะเวลานาน ๆ ๑๐ นาที ๒๐ นาที ก็เป็นการฝืนใช้ประสาทร่างกายมากจนเกินไป เมื่อถึงเวลาเลิกการปฏิบัติแล้ว อาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือปวดหัวมาก ดังนั้นให้เราเลิกใช้สายตา เอาความรู้สึกไปจับที่ภาพพระ หายใจเข้าภาพพระไหลเข้าไปพร้อมกับลมหายใจจนสุด หายใจออกภาพพระไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจจนสุด

แรก ๆ หาความชัดเจนไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เรานึกได้ว่ามีภาพพระอยู่กับเราก็พอ พยายามซักซ้อมอย่างนี้บ่อย ๆ ทุกวัน ๆ เมื่อลมหายใจมั่นคง สมาธิทรงตัวมากขึ้น ความชัดเจนจะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนสภาพจิตทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิ ตั้งแต่ฌานที่ ๑-๒-๓-๔ ขึ้นไป ความชัดเจนที่ปรากฏก็จะเหมือนตาเห็น แต่ไม่ใช่ตาเห็น

ให้ทำอย่างนี้ไว้ทุกวัน ๆ เพื่อสภาพจิตของเราได้มีที่ยึดที่เกาะ โดยที่กำหนดอารมณ์สุดท้ายไว้ว่า ถ้าหากว่าเราตายลงเมื่อไร ขอไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานเท่านั้น

ให้ทุกคนรักษากำลังใจในการดูและภาวนาตามลมหายใจเข้าออกและภาพพระของเราเอาไว้อย่างนี้ จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๐

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-04-2017 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา