ดูแบบคำตอบเดียว
  #31  
เก่า 14-12-2015, 15:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,838 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : หากพระภิกษุรูปหนึ่งได้รับว่าตนครอบครองทรัพย์สินของโยมที่มีมูลค่าเกิน ๑ บาท โดยรับปากว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น พร้อมกับโยมได้มีการทวงถามทั้งด้วยตนเองและฝากผู้อื่นไปทวงนับสิบครั้ง แต่พระภิกษุเล่นแง่ไม่ยอมคืนทรัพย์สินโดยอ้างหลากหลายเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ซึ่งปรากฏชัดถึงไถยจิตที่ต้องการกลั่นแกล้งหรืออะไรก็ตามที่มิใช่กิจของสงฆ์ โดยระยะเวลาผ่านมาร่วมหนึ่งเดือนกว่า โยมก็ยังไม่ได้รับความคืบหน้าใด ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง โยมปลงตกกับพฤติกรรมของพระภิกษุรูปนั้น จึงเลิกติดตามและตัดสินใจทอดธุระทรัพย์สินทั้งหมดนั้นโดยเด็ดขาด ในกรณีนี้ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้วใช่หรือไม่ครับ ?
ตอบ : ในเรื่องของการตัดสินตามพระธรรมวินัยเขาเรียกว่า สัมมุขาวินัย ต้องพร้อมหน้ากันทั้งโจทก์ จำเลย ผู้ตัดสินที่รู้ในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง และคณะสงฆ์ ฉะนั้น...คำถามนี้ถ้าตอบไปถือว่าผิดมารยาท เพราะว่ามีแต่โจทก์ฝ่ายเดียว ถ้าเขาหาโจทก์ จำเลย และคณะสงฆ์มาพร้อมกันได้แล้วค่อยถามใหม่

การระงับอธิกรณ์หรือตัดสินพระธรรมวินัยข้อที่นิยมใช้มากที่สุด เรียกว่า สัมมุขาวินัย ท่านใช้คำว่า ถึงพร้อมด้วยโจทก์ ด้วยจำเลย ด้วยผู้ตัดสินและคณะสงฆ์ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น คำถามบางอย่างที่เกี่ยวกับการตัดสินอธิกรณ์ ไม่สามารถที่จะว่ากล่าวโดยบุคคลฝ่ายเดียวได้ และที่สำคัญที่สุด ถ้าเป็นอาบัติหนักตั้งแต่สังฆาทิเสสขึ้นไป ห้ามอนุปสัมบันอยู่ในสถานที่นั้นด้วย แปลว่าสามเณร หรือฆราวาส ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ฟังได้ ดังนั้น...ปัญหาที่ได้ถามเกี่ยวกับเรื่องปาราชิกจึงไม่สามารถตอบในที่นี้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-12-2015 เมื่อ 20:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 197 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา